กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7665
ชื่อเรื่อง: แหล่งเรียนรู้ของจังหวัดสระแก้วเพื่อส่งเสริมการศึกษาในศตวรรษที่ 21
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Lerning resources of skeo province for eduction of 21st century promotion
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรีวรรณ ยอดนิล
ดวงสมร พิชัยคำ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม
การศึกษากับชุมชน
แหล่งเรียนรู้ -- สระแก้ว
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจแหล่งเรียนรู้ของจังหวัดสระแก้ว เพื่อส่งเสริมการศึกษาในศตวรรษที่ 21 2) ศึกษาคุณลักษณะแหล่งเรียนรู้ของจังหวัดสระแก้ว ในการส่งเสริมการศึกษาในศตวรรษที่ 21 3) ศึกษาแนวทางการใช้ประโยชน์แหล่งเรียนรู้ของจังหวัดสระแก้ว เพื่อส่งเสริมการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในกิจกรรมการเรียนการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมัธยมศึกษาตอนปลาย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสำรวจพื้นที่ การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่ม ซึ่งผลการวิจัย พบว่า 1. แหล่งเรียนรู้ของจังหวัดสระแก้ว เพื่อส่งเสริมการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ประกอบ ไปด้วย แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคล 10 คน แหล่งเรียนรู้ประเภทกิจกรรมและวัฒนธรรม 12 กิจกรรม แหล่งเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ 24 แห่ง และแหล่งเรียนรู้ประเภทสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ 12 แห่ง ซึ่งแหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคลเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดเป็นทั้งผู้สร้างและผู้ได้ใช้ประโยชน์ 2. คุณลักษณะแหล่งเรียนรู้ของจังหวัดสระแก้ว เพื่อส่งเสริมการศึกษาในศตวรรษที่ 21 พบว่า มี 4 แห่ง ที่มีคุณลักษณะของแหล่งเรียนรู้ครบทั้ง 4 ประเภท และครอบคลุมทักษะการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ครบทั้ง 7 ทักษะ ดังนั้น แหล่งเรียนรู้ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นทุนทางสังคมของจังหวัดสระแก้วที่สำคัญที่จะช่วยพัฒนาการศึกษาให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ได้แก่ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาสระแก้ว ศูนย์ฝึกอาชีพและพัฒนาราษฎรไทยบริเวณชายแดนสระแก้ว สหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำกัด และโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ 3. แนวทางการส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ของจังหวัดสระแก้ว เพื่อส่งเสริมการศึกษา ในศตวรรษที่ 21 ในกิจกรรมการเรียนการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า ครูสามารถนำมาบูรณาการได้กับการสอนครบทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนั้น ครูจึงมีบทบาทสำคัญในการใช้ประโยชน์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครู
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7665
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.92 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น