กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7665
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorศรีวรรณ ยอดนิล
dc.contributor.authorดวงสมร พิชัยคำ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T04:19:09Z
dc.date.available2023-05-12T04:19:09Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7665
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจแหล่งเรียนรู้ของจังหวัดสระแก้ว เพื่อส่งเสริมการศึกษาในศตวรรษที่ 21 2) ศึกษาคุณลักษณะแหล่งเรียนรู้ของจังหวัดสระแก้ว ในการส่งเสริมการศึกษาในศตวรรษที่ 21 3) ศึกษาแนวทางการใช้ประโยชน์แหล่งเรียนรู้ของจังหวัดสระแก้ว เพื่อส่งเสริมการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในกิจกรรมการเรียนการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมัธยมศึกษาตอนปลาย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสำรวจพื้นที่ การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่ม ซึ่งผลการวิจัย พบว่า 1. แหล่งเรียนรู้ของจังหวัดสระแก้ว เพื่อส่งเสริมการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ประกอบ ไปด้วย แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคล 10 คน แหล่งเรียนรู้ประเภทกิจกรรมและวัฒนธรรม 12 กิจกรรม แหล่งเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ 24 แห่ง และแหล่งเรียนรู้ประเภทสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ 12 แห่ง ซึ่งแหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคลเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดเป็นทั้งผู้สร้างและผู้ได้ใช้ประโยชน์ 2. คุณลักษณะแหล่งเรียนรู้ของจังหวัดสระแก้ว เพื่อส่งเสริมการศึกษาในศตวรรษที่ 21 พบว่า มี 4 แห่ง ที่มีคุณลักษณะของแหล่งเรียนรู้ครบทั้ง 4 ประเภท และครอบคลุมทักษะการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ครบทั้ง 7 ทักษะ ดังนั้น แหล่งเรียนรู้ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นทุนทางสังคมของจังหวัดสระแก้วที่สำคัญที่จะช่วยพัฒนาการศึกษาให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ได้แก่ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาสระแก้ว ศูนย์ฝึกอาชีพและพัฒนาราษฎรไทยบริเวณชายแดนสระแก้ว สหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำกัด และโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ 3. แนวทางการส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ของจังหวัดสระแก้ว เพื่อส่งเสริมการศึกษา ในศตวรรษที่ 21 ในกิจกรรมการเรียนการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า ครูสามารถนำมาบูรณาการได้กับการสอนครบทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนั้น ครูจึงมีบทบาทสำคัญในการใช้ประโยชน์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครู
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม
dc.subjectการศึกษากับชุมชน
dc.subjectแหล่งเรียนรู้ -- สระแก้ว
dc.titleแหล่งเรียนรู้ของจังหวัดสระแก้วเพื่อส่งเสริมการศึกษาในศตวรรษที่ 21
dc.title.alternativeLerning resources of skeo province for eduction of 21st century promotion
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to: 1) explore the learning resources of Sa Kaeo to support the learning in the 21st century. 2) study the characteristics of learning resources in Sa Kaeo to support the learning in the 21st century. 3) Study the use of learning resources in Sa Kaeo to support the learning in the 21st century for upper secondary education. The research results were; 1. Sources of learning in Sa Kaeo comprised of 10 humans as a resource, 12 types of activity based learning resources, 24 types of natural resources and 12 types of places and materials. Human learning resource is the most important source of learning both for creators and users. 2. Characteristics of Sa Kaeo learning resource to support 21st-century learning were found learning resources that covered all 4 aspects and cover 21st century 7 skills. These sources of learning were considered to be the social capital of Sa Kaeo province to help develop education into a learning society throughout the life, include Science Center for Education of Sa Kaeo, Thai Vocational Training and Development Center at Sa Kaeo border, Wang Nam Yen Dairy Cooperative Ltd and The Water Buffalo Agricultural School. 3. The guide line to promote learning resources in Sa Kaeo, to support 21st century learning for upper secondary education was that the teachers can u
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการศึกษาและการพัฒนาสังคม
dc.degree.nameกศ.ม.
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.92 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น