กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7393
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาระบบการประเมินการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of performnce pprisl system of inservice techers in chonburi primry eductionl service re office 1
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ดุสิต ขาวเหลือง
พงศ์เทพ จิระโร
จิตตวดี โพธินิล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ครู -- การปฎิบัติงาน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
ครู -- การประเมิน
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการประเมินการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาระบบการประเมินการปฏิบัติงานของครู และเพื่อประเมินระบบการประเมินการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพการประเมินการปฏิบัติงานของครู กลุ่มตัวอย่าง 316 คน ค่า IOC = 0.60-1.00 ค่าความเที่ยง (Reliability) โดยใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า (Alpha coefficient: α) ของ Cronbach α = .981 ซึ่งใช้สถิติทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (rxy) ระยะที่ 2 การพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของครู ด้วยการประยุกต์ใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi technique) โดยผู้เชี่ยวชาญ 17 คน ซึ่งใช้สถิติ คือ ค่ามัธยฐาน (Median) และพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile range) ระยะที่ 3 ประเมินระบบการประเมิน การปฏิบัติงานของครูที่จัดทำขึ้นให้ผู้ประเมินระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของครู ประกอบด้วย ครู (ผู้รับการประเมิน) และคณะกรรมการการดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงาน 30 คน ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพการประเมินการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์ของการประเมินผล 2) เนื้อหาสาระที่ใช้ในการประเมินผล 3) ตัวบ่งชี้ที่ใช้ในการประเมินผล 4) เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินผล 5) วิธีการที่ใช้ในการประเมินผล 6) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผล 7) ระยะเวลาที่ใช้ในการประเมินผล 8) ผู้ทำการประเมินผล 9) การแจ้ง ผลการประเมิน 2. ผลการการพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของครู พบว่า ผู้เชี่ยวชาญ 17 คน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูอยู่ในระดับมากที่สุด และ มีความคิดเห็นสอดคล้องกันทุกประเด็น 3. ผลการประเมินระบบ การประเมินผลการปฏิบัติงานของครู พบว่า มีส่วนร่วมใน การประเมินความคิดเห็นต่อการพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูตามกรอบมาตรฐาน 4 ด้าน คือ ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม และด้านความถูกต้อง อยู่ในระดับมากที่สุด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7393
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.67 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น