กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7393
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorดุสิต ขาวเหลือง
dc.contributor.advisorพงศ์เทพ จิระโร
dc.contributor.authorจิตตวดี โพธินิล
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:55:16Z
dc.date.available2023-05-12T03:55:16Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7393
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการประเมินการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาระบบการประเมินการปฏิบัติงานของครู และเพื่อประเมินระบบการประเมินการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพการประเมินการปฏิบัติงานของครู กลุ่มตัวอย่าง 316 คน ค่า IOC = 0.60-1.00 ค่าความเที่ยง (Reliability) โดยใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า (Alpha coefficient: α) ของ Cronbach α = .981 ซึ่งใช้สถิติทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (rxy) ระยะที่ 2 การพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของครู ด้วยการประยุกต์ใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi technique) โดยผู้เชี่ยวชาญ 17 คน ซึ่งใช้สถิติ คือ ค่ามัธยฐาน (Median) และพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile range) ระยะที่ 3 ประเมินระบบการประเมิน การปฏิบัติงานของครูที่จัดทำขึ้นให้ผู้ประเมินระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของครู ประกอบด้วย ครู (ผู้รับการประเมิน) และคณะกรรมการการดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงาน 30 คน ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพการประเมินการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์ของการประเมินผล 2) เนื้อหาสาระที่ใช้ในการประเมินผล 3) ตัวบ่งชี้ที่ใช้ในการประเมินผล 4) เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินผล 5) วิธีการที่ใช้ในการประเมินผล 6) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผล 7) ระยะเวลาที่ใช้ในการประเมินผล 8) ผู้ทำการประเมินผล 9) การแจ้ง ผลการประเมิน 2. ผลการการพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของครู พบว่า ผู้เชี่ยวชาญ 17 คน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูอยู่ในระดับมากที่สุด และ มีความคิดเห็นสอดคล้องกันทุกประเด็น 3. ผลการประเมินระบบ การประเมินผลการปฏิบัติงานของครู พบว่า มีส่วนร่วมใน การประเมินความคิดเห็นต่อการพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูตามกรอบมาตรฐาน 4 ด้าน คือ ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม และด้านความถูกต้อง อยู่ในระดับมากที่สุด
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectครู -- การปฎิบัติงาน
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.subjectครู -- การประเมิน
dc.titleการพัฒนาระบบการประเมินการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1
dc.title.alternativeThe development of performnce pprisl system of inservice techers in chonburi primry eductionl service re office 1
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research were to, to develop a system for evaluating the performance of teachers and to evaluate the system for evaluating the performance of teachers. The research has three phases: 1) A study of condition of performance evaluation of teachers, 316 samples, IOC = 0.60-1.00, reliability the cronbach alpha coefficient α (α) = .981, use t-test, One-way ANOVA and Pearson Product Moment Correlation. 2) Developing a system to evaluate the performance of the teachers, Delphi Technique was applied to obtain opinions from 17 experts. Median and interquartile range were used, 3) Evaluating the developed system, teacher performance evaluation system include teachers (evaluators) and 30 performance appraisers. The research results were; 1. The conditions of the performance evaluation of teachers comprise 9 elements: 1) the purpose of evaluation 2) materials used in the evaluation, 3) the indicators used in the evaluation, 4) the criteria used in the evaluation, 5) the methods used in the evaluation, 6) the tool used in the evaluation, 7) time used in the evaluation, 8) the evaluator, 9) report the results of the evaluation. 2. When developing a system to evaluate the performance of the teachers, 17 experts had the highest level of opinion and have consistent on comments the development of teacher performance evaluation system. 3. The evaluators had an opinion on the development of teacher performance appraisal system based on 4 standard frameworks which were utility standard, feasibility standard, propriety standard and accuracy standard were rated as “the most”.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.67 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น