กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6907
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors ffecting primry schools effectiveness under the Chcheongso Primry Eductionl Service Are Office 1
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุรัตน์ ไชยชมภู
วีรยุทธ เสาแก้ว
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
โรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร
การจูงใจในการทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร แรงจูงใจในการทำงานของครู ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan (1970, p. 608) ได้จำนวน 266 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งออกเป็น แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร, แบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจใน การทำงานของครู และแบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลของโรงเรียน โดยมีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.27 ถึง 0.87 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98, 0.98 และ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา แรงจูงใจในการทำงานของครู และประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา แรงจูงใจในการทำงานของครู และประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 โดยรวม พบว่า มีความสัมพันธ์กันทางบวกระดับปานกลางถึงระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ (Xa2) และแรงจูงใจในการทำงานของครูด้านนโยบายและการบริหาร (Xb10) ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ (Xb3) และ ด้านความก้าวหน้าในงาน (Xb5) สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 ได้ร้อยละ 61.70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ เขียนเป็นสมการพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาในรูปคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ Ŷ = 1.66 + .20 (Xb10) + .16 (Xb3) + .15 (Xa2) + .10 (Xb5) ẑ = .33 (Zb10) + .23 (Zb3) + .17 (Za2) + .17 (Zb5)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6907
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf969.57 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น