กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1994
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเศรษฐกิจมหภาคกับผลตอบแทนของหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The relationship between macroeconomic factors and returns in Thailand stock exchange
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริวรรณ สมนึก
ปัณฑา โกกอง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: ปัจจัยเศรษฐกิจมหภาค ARDL
ผลตอบแทนหลักทรัพย์
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ในงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบการเคลื่อนไหวในระยะยาวของผลตอบแทนหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกับปัจจัยเศรษฐกิจมหภาค ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร ปริมาณเงินตามความหมายกว้าง ดัชนีดาวโจนส์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ดัชนีนิเคอิ ของประเทศญี่ปุ่น ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตของประเทศจีน ดัชนีสเตรทไทม์ของประเทศสิงคโปร์ ดัชนีจาการ์ตาคอมโพสิตของประเทศอินโดนีเซีย ดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง ดัชนีราคาผู้บริโภค และราคาทองคำ โดยอาศัยข้อมูลอนุกรมเวลารายเดือนตั้งแต่มกราคม พ.ศ. 2548 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2558 และนำข้อมูลมาทดสอบความสัมพันธ์ในเชิงดุลยภาพระยะยาวด้วยการทดสอบโคอินทิเกรชั่น และประมาณค่าความสัมพันธ์ในเชิงดุลยภาพระยะยาวด้วยแบบจำลอง Autoregressive Distributrd Lag (ARDL) ซึ่งเป็นแบบจำลอง ที่ใช้ในการประมาณค่าความสัมพันธ์ระยะยาวระหว่างตัวแปรต่างๆได้ ซึ่งจากการทดสอบพบว่า ในระยะยาว อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร ปริมาณเงินตามความหมายกว้าง ดัชนีสเตรทไทม์ และดัชนีจาการ์ตา มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับผลตอบแทนของหลักทรัพย์ ส่วนดัชนีค่าเงิน บาทที่แท้จริง ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิต ดัชนีราคา ผู้บริโภค และราคาทองคำ มีความสัมพันธ์ ในทิศทางตรงข้ามกับผลตอบแทนของหลักทรัพย์ ขณะที่ในระยะสั้น พบว่าดัชนีจาการ์ตามีความสัมพันธ์ในทิสทางเดียวกับผลตอบแทนของหลักทรัพย์ ส่วนราคาทองคำมีความสัมพันธ์ในทิศทาง ตรงข้ามกับผลตอบแทนของหลักทรัพย์
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1994
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_095.pdf3.67 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น