กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12689
ชื่อเรื่อง: ภาพยนต์ไทยนอกกระแสกับภาพสะท้อนปัญหาสังคม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Thi non-minstrem film nd mirror imge of socil problem issues
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุชาติ เถาทอง
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
เขมพัทธ์ พัชรวิชญ์
มหาวิทยาลัยบูรพา.คณะศิลปกรรมศาสตร์.
คำสำคัญ: ภาพยนตร์ไทย -- แง่สังคม
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
ภาพยนตร์ไทย
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์.มหาวิทยาลัยบูรพา.
บทคัดย่อ: งานวิจัยเรื่องภาพยนตร์ไทยนอกกระแสกับภาพสะท้อนปัญหาสังคมไทยมีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์แนวคิดประเด็นปัญหาสังคมและภาพมายาคติที่ปรากฏในภาพยนตร์ไทยนอกกระแส ค้นคว้าแสวงหาแนวคิดและสไตล์ของผู้กํากับภาพยนตร์ไทยนอกกระแสอันนําไปสู่การสร้างองค์ความรู้ ตลอดจนค้นหาแนวคิดอุดมการณ์ที่แท้จริงของผู้กํากับภาพยนตร์ในการสร้างสรรค์ ภาพยนตร์ไทยนอกกระแสในปัจจุบัน และสร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์นอกกระแส จากการศึกษา งานวิจัยเพื่อสะท้อนปัญหาสังคมไทย ซึ่งผู้วิจัยได้วางขอบเขตการศึกษาภาพยนตร์ไทยนอกกระแส ที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมตั้งแต่ปี พ.ศ.2547-2557 เป็นจํานวน 10 เรื่อง ด้วยกระบวนการวิเคราะห์ตัวบท (Textual analysis) และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้กํากับภาพยนตร์ จํานวน 5 ท่าน ผลการวิจัยพบว่าภาพยนตร์ไทยนอกกระแสส่วนใหญ่มีเป้าหมายเพื่อแสดงแนวความคิด ปัจเจกของผู้กํากับ ซึ่งสะท้อนถึงปัญหาสังคมไทยในทางอ้อมด้วยวิธีการตีแผ่มายาคติของสังคม แนวคิดของผู้กํากับภาพยนตร์มาจากประสบการณ์ส่วนตัว และสร้างสรรค์ภาพยนตร์ในรูปแบบสัจนิยมซึ่งได้รับอิทธิพลจากภาพยนตร์นอกกระแสในต่างประเทศ ผู้กํากับภาพยนตร์นอกกระแส มีอุดมการณ์ตามแนวคิดมาร์กซิสต์อันมีแนวคิดที่ขัดแย้งกับอุดมการณ์กระแสหลัก ซึ่งสิ่งนี้คือปัจจัย สําคัญที่ทําให้ภาพยนตร์นอกกระแสแตกต่างจากภาพยนตร์กระแสหลักผู้วิจัยสรุปองค์ประกอบ ในการสร้างภาพยนตร์นอกกระแสกับการสะท้อนปัญหาสังคมได้ดังนี้ คือ (1) ประเด็นทางสังคม (2) ประสบการณ์ส่วนตัว (3) อุดมการณ์ลัทธิมาร์กซิสต์ (4) ทัศนคติ (5) การตีแผ่มายาคติของสังคม (6) ความขัดแย้งกับอุดมการณ์กระแสหลัก (7) สไตล์ภาพยนตร์นอกกระแส ซึ่งผู้วิจัยได้นําองค์ความรู้ดังกล่าวมาสร้างภาพยนตร์นอกกระแสที่สะท้อนปัญหาสังคมไทยจากประสบการณ์ชีวิตของผู้วิจัยเองได้อย่างสัมฤทธิ์ผล โดยผสมผสานรูปแบบเฉพาะตัวด้วยเรื่องราวจากเกมออนไลน์ เทคนิค Visual Effects และรูปแบบภาพยนตร์นอกกระแส เกิดเป็นรูปแบบที่เรียกว่า ภาพยนตร์ สัจนิยมเสมือน
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์(ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12689
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Walai2558-2559

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf23.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น