กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12689
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสุชาติ เถาทอง
dc.contributor.advisorอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
dc.contributor.advisorรักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม
dc.contributor.advisorอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
dc.contributor.authorเขมพัทธ์ พัชรวิชญ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา.คณะศิลปกรรมศาสตร์.
dc.date.accessioned2024-01-25T08:56:27Z
dc.date.available2024-01-25T08:56:27Z
dc.date.issued2559
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12689
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์(ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
dc.description.abstractงานวิจัยเรื่องภาพยนตร์ไทยนอกกระแสกับภาพสะท้อนปัญหาสังคมไทยมีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์แนวคิดประเด็นปัญหาสังคมและภาพมายาคติที่ปรากฏในภาพยนตร์ไทยนอกกระแส ค้นคว้าแสวงหาแนวคิดและสไตล์ของผู้กํากับภาพยนตร์ไทยนอกกระแสอันนําไปสู่การสร้างองค์ความรู้ ตลอดจนค้นหาแนวคิดอุดมการณ์ที่แท้จริงของผู้กํากับภาพยนตร์ในการสร้างสรรค์ ภาพยนตร์ไทยนอกกระแสในปัจจุบัน และสร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์นอกกระแส จากการศึกษา งานวิจัยเพื่อสะท้อนปัญหาสังคมไทย ซึ่งผู้วิจัยได้วางขอบเขตการศึกษาภาพยนตร์ไทยนอกกระแส ที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมตั้งแต่ปี พ.ศ.2547-2557 เป็นจํานวน 10 เรื่อง ด้วยกระบวนการวิเคราะห์ตัวบท (Textual analysis) และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้กํากับภาพยนตร์ จํานวน 5 ท่าน ผลการวิจัยพบว่าภาพยนตร์ไทยนอกกระแสส่วนใหญ่มีเป้าหมายเพื่อแสดงแนวความคิด ปัจเจกของผู้กํากับ ซึ่งสะท้อนถึงปัญหาสังคมไทยในทางอ้อมด้วยวิธีการตีแผ่มายาคติของสังคม แนวคิดของผู้กํากับภาพยนตร์มาจากประสบการณ์ส่วนตัว และสร้างสรรค์ภาพยนตร์ในรูปแบบสัจนิยมซึ่งได้รับอิทธิพลจากภาพยนตร์นอกกระแสในต่างประเทศ ผู้กํากับภาพยนตร์นอกกระแส มีอุดมการณ์ตามแนวคิดมาร์กซิสต์อันมีแนวคิดที่ขัดแย้งกับอุดมการณ์กระแสหลัก ซึ่งสิ่งนี้คือปัจจัย สําคัญที่ทําให้ภาพยนตร์นอกกระแสแตกต่างจากภาพยนตร์กระแสหลักผู้วิจัยสรุปองค์ประกอบ ในการสร้างภาพยนตร์นอกกระแสกับการสะท้อนปัญหาสังคมได้ดังนี้ คือ (1) ประเด็นทางสังคม (2) ประสบการณ์ส่วนตัว (3) อุดมการณ์ลัทธิมาร์กซิสต์ (4) ทัศนคติ (5) การตีแผ่มายาคติของสังคม (6) ความขัดแย้งกับอุดมการณ์กระแสหลัก (7) สไตล์ภาพยนตร์นอกกระแส ซึ่งผู้วิจัยได้นําองค์ความรู้ดังกล่าวมาสร้างภาพยนตร์นอกกระแสที่สะท้อนปัญหาสังคมไทยจากประสบการณ์ชีวิตของผู้วิจัยเองได้อย่างสัมฤทธิ์ผล โดยผสมผสานรูปแบบเฉพาะตัวด้วยเรื่องราวจากเกมออนไลน์ เทคนิค Visual Effects และรูปแบบภาพยนตร์นอกกระแส เกิดเป็นรูปแบบที่เรียกว่า ภาพยนตร์ สัจนิยมเสมือน
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศิลปกรรมศาสตร์.มหาวิทยาลัยบูรพา.
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectภาพยนตร์ไทย -- แง่สังคม
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.subjectวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.subjectภาพยนตร์ไทย
dc.titleภาพยนต์ไทยนอกกระแสกับภาพสะท้อนปัญหาสังคม
dc.title.alternativeThi non-minstrem film nd mirror imge of socil problem issues
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were: (1) To analyze concept of social problem issues and mythologies in Thai non-mainstream films, (2) To study and survey concepts and styles from Thai non-mainstream film directors that lead to main knowledge, (3) To search for the real ideologies of directors who currently created non-mainstream films, and (4) To create nonmainstream film based on the result of this research to reflect issues in Thai society. Scope of this research is to study 10 best Thai non-mainstream films received awards from 2004-2014 by using 2 methologies, Textual Analysis along with in-depth interviewing of 5 film directors. From this research we found that the objective of non-mainstream films is to present specific impression or idea of directors themselves who want to indirectly reflect social problems by revealing Thai social mythologies. Ideas of each director came from each personal or individual experience and their films have been created in non-mainstream film styles and influenced by international movies. Directors of non-mainstream films follow Marxism ideals which contrary to the conception of mainstream models. That is the main reason that makes the non-mainstream films are dissimilar from mainstream ones. However, from this study, the elements of non-mainstream films and social problem unfolding can be summarized as the followings (1) social problems issues (2) personal view of each director (3) Marxism ideal (4) attitude (5) revealing Thai social mythologies (6) dissimilarity from mainstream model and (7) styles of non-mainstream films. The researcher has successfully produced non-mainstream films which united all of those elements mentioned to mirror social concerns from researcher’s experience. Moreover, game online, visual effects techniques and non-mainstream film styles have been added to this film and resulted in a specific style of Virtual Realism Film was born.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.degree.nameปริญญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Walai2558-2559

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf23.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น