กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9261
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาตัวชี้วัดการกลั่นแกล้งในโรงเรียนของนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 18
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Developing Indicators of School Bullying for Students in Secondary Educational Service Area Office 18
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปริญญา เรืองทิพย์
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: การกลั่นแกล้งในโรงเรียน
การวิเคราะห์องค์ประกอบ
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การพัฒนาตัวชี้วัดการกลั่นแกล้งในโรงเรียนของนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 18 มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาองค์ประกอบการกลั่นแกล้งในโรงเรียนของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดการกลั่นแกล้งในโรงเรียน ของนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 และเพื่อตรวจสอบความตรงเชิง โครงสร้างการกลั่นแกล้งในโรงเรียนของนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ทั้งจังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง จำนวน 8 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1067 คน นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงบรรยาย โดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยปรากฎว่า การกลั่นแกล้งในโรงเรียนของนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 มีตัวชี้วัดทั้งหมด 12 ตัวชี้วัด ได้แก่องค์ประกอบที่ 1 การกลั่นแกล้งทางวาจา มีตัวชี้วัด 5 ตัว คือ ฉันชอบพูดนินทาเพื่อนคนอื่น ฉันชอบพูดล้อเลียนเพื่อนเมื่อเพื่อนทำผิดพลาด ฉันชอบล้อเลียนชื่อ นักเรียนคนอื่น ฉันชอบล้อเลียนชื่อพ่อแม่เพื่อน และฉันชอบตบตีเพื่อนเบา ๆ โดยฉันคิดว่าเป็นเรื่อง สนุก องค์ประกอบที่ 2 การกลั่นแกล้งทางสังคมมีตัวชี้วัด 4 ตัว คือ ฉันมีความสุขถ้าเพื่อนแตกแยก กัน ฉันชอบเวลาที่ทำให้เพื่อนรู้สึกไม่ดีและแยกตัวออกจากกลุ่มเพื่อน ฉันจะมีความสุขถ้าเพื่อน ทะเลาะกัน และฉันชอบยุให้เพื่อนทะเลาะกัน องค์ประกอบที่ 3 การกลั่นแกล้วทางกาย มีตัวชี้วัด 3 ตัว คือ ฉันจะทำร้ายร่างกายเพื่อนเมื่อทำให้ฉันโกรธ ฉันตบหรือเตะนักเรียนคนอื่น และฉันชอบตบหัว เพื่อนคนที่เขาอ่อนแอกว่า พิจารณาผลการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างขององค์ประกอบการ กลั่นแกล้งในโรงเรียน กับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ค่าไคสแควร์เท่ากับ 58.48 ที่องศาอิสระ 44 มี ความน่าจะเป็น .07 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.99 ค่าดัชนีวัดระดับความ กลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.99 และค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของค่าความแตกต่าง โดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.01 แสดงว่า องค์ประกอบการกลั่นแกล้งในโรงเรียนมีความตรงเชิง โครงสร้าง
รายละเอียด: ทุนอุดหนุนการวิจัย งบประมาณเงินรายได้ส่วนงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9261
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2566_005.pdf1.19 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น