กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9261
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorปริญญา เรืองทิพย์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญาth
dc.date.accessioned2023-06-15T04:06:48Z
dc.date.available2023-06-15T04:06:48Z
dc.date.issued2564
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9261
dc.descriptionทุนอุดหนุนการวิจัย งบประมาณเงินรายได้ส่วนงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.description.abstractการพัฒนาตัวชี้วัดการกลั่นแกล้งในโรงเรียนของนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 18 มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาองค์ประกอบการกลั่นแกล้งในโรงเรียนของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดการกลั่นแกล้งในโรงเรียน ของนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 และเพื่อตรวจสอบความตรงเชิง โครงสร้างการกลั่นแกล้งในโรงเรียนของนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ทั้งจังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง จำนวน 8 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1067 คน นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงบรรยาย โดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยปรากฎว่า การกลั่นแกล้งในโรงเรียนของนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 มีตัวชี้วัดทั้งหมด 12 ตัวชี้วัด ได้แก่องค์ประกอบที่ 1 การกลั่นแกล้งทางวาจา มีตัวชี้วัด 5 ตัว คือ ฉันชอบพูดนินทาเพื่อนคนอื่น ฉันชอบพูดล้อเลียนเพื่อนเมื่อเพื่อนทำผิดพลาด ฉันชอบล้อเลียนชื่อ นักเรียนคนอื่น ฉันชอบล้อเลียนชื่อพ่อแม่เพื่อน และฉันชอบตบตีเพื่อนเบา ๆ โดยฉันคิดว่าเป็นเรื่อง สนุก องค์ประกอบที่ 2 การกลั่นแกล้งทางสังคมมีตัวชี้วัด 4 ตัว คือ ฉันมีความสุขถ้าเพื่อนแตกแยก กัน ฉันชอบเวลาที่ทำให้เพื่อนรู้สึกไม่ดีและแยกตัวออกจากกลุ่มเพื่อน ฉันจะมีความสุขถ้าเพื่อน ทะเลาะกัน และฉันชอบยุให้เพื่อนทะเลาะกัน องค์ประกอบที่ 3 การกลั่นแกล้วทางกาย มีตัวชี้วัด 3 ตัว คือ ฉันจะทำร้ายร่างกายเพื่อนเมื่อทำให้ฉันโกรธ ฉันตบหรือเตะนักเรียนคนอื่น และฉันชอบตบหัว เพื่อนคนที่เขาอ่อนแอกว่า พิจารณาผลการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างขององค์ประกอบการ กลั่นแกล้งในโรงเรียน กับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ค่าไคสแควร์เท่ากับ 58.48 ที่องศาอิสระ 44 มี ความน่าจะเป็น .07 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.99 ค่าดัชนีวัดระดับความ กลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.99 และค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของค่าความแตกต่าง โดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.01 แสดงว่า องค์ประกอบการกลั่นแกล้งในโรงเรียนมีความตรงเชิง โครงสร้างth_TH
dc.description.sponsorshipวิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherวิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการกลั่นแกล้งในโรงเรียนth_TH
dc.subjectการวิเคราะห์องค์ประกอบth_TH
dc.titleการพัฒนาตัวชี้วัดการกลั่นแกล้งในโรงเรียนของนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 18th_TH
dc.title.alternativeDeveloping Indicators of School Bullying for Students in Secondary Educational Service Area Office 18th_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailparinyar@buu.ac.thth_TH
dc.year2564th_TH
dc.description.abstractalternativeThe Secondary Education Service Area Office 18's development of bullying indicators in student at schools aimed to develop factors of school bullying among students, develop indicators of school bullying, and examine the construct validity of school bullying among students there. The sample included 1067 students from grades 1 to 6 from the Office of Secondary Education Area 18 in Chonburi and Rayong Provinces, with a total of 8 schools. Descriptive statistics, exploratory factor analysis (EFA) and confirmatory factor analysis were employed in statistical analysis. The results revealed that school bullying among students under the Secondary Education Area Office 18 had 12 indicators. The first factor is verbal bullying, which had five indicators: I like to tattle about other friends, I like to make fun of my friends when they make mistakes, I like to make fun of other students' names, I like to ridicule the names of my friends' parents, and I like to hit my friends lightly because it's fun. The second factor is social bullying, which has four indicators: I like it when friends break up, I like it when my friends feel bad and leave the group, I like it when my friends argue, and I like to encourage my friends to argue. The third factor, physical bullying consisted of three indicators: I will hurt my friend if they make me angry, I slap or kick other students, and I like to slap my weaker friends. The results of examining the construct validity of the factors of school bullying with empirical data revealed that the Chi-squared = 58.48, df = 44, p= .07, GFI= 0.99, AGFI = 0.99 and RMSEA= 0.01. These indices exhibited that school bullying had a good construct validity with empirical data.th_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2566_005.pdf1.19 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น