กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9216
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุด้วยการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการโดยใช้ทฤษฎีอัตถิภาวะนิยมเป็นฐาน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development ofsttes of ctive ging through the ssimiltive integrtive group counseling bsed on existentil theory
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ดลดาว วงศ์ธีระธรณ์
สุรินทร์ สุทธิธาทิพย์
ปวีณา เพิ่มพูล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ -- สุขภาพและอนามัย
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุด้วยการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการโดยใช้ทฤษฎีอัตถิภาวะนิยมเป็นฐาน โดยงานวิจัยนี้แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาแบบวัดภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบวัดภาวะพฤฒพลัง มีค่าความเชื่อมั่น .96 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมสัสดีบำนาญ จำนวน 400 คน ระยะที่ 2 การศึกษาผลของโปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการโดยใช้ทฤษฎีอัตถิภาวะนิยมเป็นฐานต่อภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุชมรมเจริญนคร 66 ที่มีคะแนนแบบวัดพฤฒพลังในระดับตํ่าและ ต่ำมาก จำนวน 24 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบ Random assignment เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ จำนวน 12 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรึกษากลุ่มบูรณาการโดยใช้ทฤษฎีอัตถิภาวะนิยมเป็นฐาน สัปดาห์ละ 3 ครั้ง จำนวน 7 สัปดาห์ รวมเป็น 18 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที และกลุ่มควบคุม ไม่ได้รับโปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการโดยใช้ทฤษฎีอัตถิภาวะนิยมเป็นฐาน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ Two ay repeated measures ANOVA และ นิวแมน-คูลส์ ผลการวิจัย พบว่า ในระยะที่ 1 องค์ประกอบของภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย ด้านสุขภาพ ด้านการมีส่วนร่วม และด้านหลักประกันและความมั่นคง โดยโมเดลการวัดภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุด้านสุขภาพ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2) = 57.25, df = 53, p = 0.32053, ค่าดัชนี CFI = 1.00, GFI = 0.99, RMSEA = 0.014 โมเดลการวัดภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุด้าน การมีส่วนร่วมมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2) = 5.91, df = 5, p = 0.31539, ค่าดัชนี CFI = 1.00, GFI = 1.00, RMSEA = 0.021 โมเดลการวัดภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุด้านหลักประกัน และความมั่นคง มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2) = 9.12, df = 7, p = 0.244444, ค่าดัชนี CFI = 1.00, GFI = 0.99, RMSEA = 0.028 และระยะที่ 2 การศึกษา ผลของการใช้การปรึกษากลุ่ม เชิงบูรณาการโดยใช้ทฤษฎีอัตถิภาวนิยมเป็นฐานต่อภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุ พบว่า 1) มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผู้สูงอายุ กลุ่มทดลองมีพฤฒพลังในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผู้สูงอายุกลุ่มทดลองมีพฤฒพลังในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล สูงกว่าระยะก่อนการทดลอง
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9216
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57810146.pdf2.66 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น