กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9194
ชื่อเรื่อง: ทัศนคติและอิทธิพลของกลุ่มเพื่อนที่มีต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในจังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Attitude nd peer influences on lcohol consumption behviors of secondry school students in chonburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์
เสกสรรค์ ทองคำบรรจง
ธนภูมิ ธรรมบุตร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ทัศนคติ
เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ -- ผลกระทบต่อสังคม
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของระดับทัศนคติต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 2) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของทัศนคติต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในภาพรวม และจำแนกตามระดับชั้นมัธยมศึกษา 3) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของการคล้อยตามกลุ่มเพื่อน ที่มีต่อทัศนคติและพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในภาพรวม และจำแนกตามระดับชั้นมัธยมศึกษา 4) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลลักษณะของกลุ่มเพื่อน ที่ส่งผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 1,080 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติ อิทธิพลของกลุ่มเพื่อนและพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์หาค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และวิเคราะห์ การถดถอย ผลการวิจัยพบว่า 1. ทัศนคติและพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ตามลำดับ โดยระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีระดับทัศนคติต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่ำจกว่าจากนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2, 3, 4, 5 และ 6 ที่ระดับนัยสำคัญ .05 และนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีระดับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่ำกว่าจากนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ระดับนัยสำคัญ .05 2. ทัศนคติต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์ การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ 0.278 และสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 7.8 และเมื่อจำแนกตามระดับชั้นพบว่า ทัศนคติต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มากสุดในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 และน้อยสุดในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 3. การคล้อยตามกลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลทางบวกต่อทัศนคติต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ 0.296 สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 8.8 เมื่อจำแนกตามระดับชั้นโดยพบว่า มัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าอิทธิพลมากที่สุด และมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าอิทธิพลน้อยที่สุด ในขณะที่การคล้อยตามกลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลทางลบต่อพฤติกรรมต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ 0.079 สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 0.6 และเมื่อจำแนกตามระดับชั้นพบว่า มัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าอิทธิพลมากที่สุด และมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีค่าอิทธิพลน้อยที่สุด 4. ลักษณะของกลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลทางบวกต่อทัศนคติต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ 0.061 สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 0.4 เมื่อจำแนกตามระดับชั้น โดยพบว่า มัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าอิทธิพลมากที่สุด และมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าอิทธิพลน้อยที่สุด ในส่วนลักษณะของกลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลทางลบต่อพฤติกรรมต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างไม่มีระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ -0.590 สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 0.4 และเมื่อจำแนกตามระดับชั้นพบว่า มัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าอิทธิพลมากที่สุด และมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าอิทธิพลน้อยที่สุด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9194
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58910154.pdf1.82 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น