กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9188
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาความเข้าใจในเจตนารมณ์ของบุคคลอื่นในเด็กอนุบาลด้วยหลักการพัฒนาระบบประสาทกระจกเงาการเล่นแบบโกลาหล และลำดับขั้นความเข้าใจในเจตนารมณ์ของบุคคลอื่น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Preschooler’s theory of mind (tom) development through mirror neuron system (mns) development, rough-ndtumble ply, nd theory of mind scle development concepts
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์
ภาคภูมิ บำรุงราชภักดี
ประดิพล เครือแก้ว
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสมอง จิตใจ และการเรียนรู้
จิตวิทยาเด็ก
ความเข้าใจในเด็ก
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้าใจในเจตนารมณ์ของบุคคลอื่นในเด็กอนุบาลหลังจากที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างความเข้าใจในเจตนารมณ์ของบุคคลอื่นที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากแนวคิดการพัฒนาระบบประสาทกระจกเงา การเล่นแบบโกลาหล และลำดับขั้นความเข้าใจในเจตนารมณ์ของบุคคลอื่น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับอนุบาล จำนวน 22 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ 11 คน และกลุ่มที่ได้รับกิจกรรมปกติของครู 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ โปรแกรมและแบบทดสอบการเสริมสร้างความเข้าใจในเจตนารมณ์ของบุคคลอื่นในเด็กอนุบาล ดำเนินการทดลองทั้งสิ้น 9 ครั้ง ๆ ละ 30 นาที การวิจัยเป็นแบบคัดเลือกแบบสุ่มวัดซ้ำสองกลุ่มวัดก่อนและหลัง และอำพรางสามฝ่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการทดสอบค่าที (t-test statistic) ผลการวิจัยพบว่า 1) เด็กอนุบาลที่ได้รับโปรแกรมฯ มีความเข้าใจในเจตนารมณ์ของบุคคลอื่นในด้านอารมณ์ ในระยะหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วน ด้านการรู้คิดไม่ต่างกัน 2) ในระยะหลังทดลอง เด็กอนุบาลทั้ง 2 กลุ่ม มีความเข้าใจในเจตนารมณ์ของบุคคลอื่นทั้งด้านอารมณ์ และการรู้คิด ไม่แตกต่างกัน 3) เด็กทั้ง 2 กลุ่ม มีทักษะการเข้าใจในเจตนารมณ์ด้านทักษะทางสังคมและทักษะการรู้คิด ในระยะหลังทดลอง สูงกว่าก่อนทดลอง อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ในระยะหลังทดลอง เด็กอนุบาลกลุ่มที่ได้รับโปรแกรม มีทักษะความเข้าใจในเจตนารมณ์ของบุคคลอื่นทั้งด้านทักษะสังคม และด้านทักษะการรู้คิด สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับกิจกรรมปกติของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9188
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58910144.pdf6.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น