กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9187
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการควบคุมยับยั้งในเด็กวัยเรียน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development progrm to promote inhibitory control in school ge children
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์
จุฑามาศ แหนจอน
ชลิญา เพ็ชรเหมือน
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสมอง จิตใจ และการเรียนรู้
อารมณ์ในเด็ก
การควบคุม (จิตวิทยา) ในเด็ก
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างการควบคุมยับยั้งด้วยเอ็น แอล พี ในเด็กวัยเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ที่มีประวัติเข้ารับบริการและตรวจวินิจฉัยปรับพฤติกรรม ณ แผนกจิตเวชโรงพยาบาลปากช่องนานา อายุระหว่าง 7 - 11 ปี จำนวน 56 คน สุ่มแบบจับคู่คะแนน ด้วยเครื่องมือทดสอบ Go/ No-go task เพศและอายุ แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 28 คน (ชาย 14 คน และหญิง 14 คน) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมเสริมสร้างการควบคุมยับยั้งด้วยเอ็น แอล พี ในเด็กวัยเรียน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นบนพื้นฐานแนวคิดของโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัส 2) แบบประเมินความสามารถทางเชาว์ปัญญาเด็กอายุ 2 - 15 ปี 3. Swanson, Nolan and Pelham version IV (SNAP-IV) 4. Pervasive Developmental Disorder Screening Questionnaire (PDDSQ) และ 5. Go/ No-go task กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเสริมสร้างการควบคุมยับยั้งด้วยเอ็น แอล พี ในเด็กวัยเรียน จำนวน 2 ครั้ง ครั้งละ 50 นาที การรวบรวมข้อมูล แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้ออมูลด้วยการวิเคราะห์ค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลอง มีคะแนน Commission error หลังการทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนกลุ่มทดลอง มีคะแนน Reaction time หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3) ในระยะหลังการทดลอง นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนน Commission error ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ในระยะหลังการทดลอง นักเรียนกลุ่มทดลอง มีคะแนน Reaction time สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า โปรแกรมเสริมสร้างการควบคุมยับยั้งด้วยเอ็น แอล พี มีประสิทธิผลในการเสริมสร้าง การควบคุมยับยั้งในเด็กวัยเรียน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9187
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58910143.pdf3.18 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น