กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8817
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพต่อการเกิดมะเร็งกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองของผู้ประกอบอาชีพริมถนนที่ทำงานรอบโรงกลั่นน้ำมัน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Assocition of helth belief to crcinogenesis nd self-protection behviors mong rodside occuptions in the vicinity of oil refineries, srirch district, chonburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นันทพร ภัทรพุทธ
ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์
นันทฉัตร ระฮุง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: สารก่อมะเร็ง
มะเร็ง -- การป้องกันและควบคุม
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพต่อการเกิดมะเร็งกับพฤติกรรมการป้องกันตนเอง จำนวน 400 คน ในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพริมถนน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 52.8 อายุเฉลี่ย 46.4 ปี โดยมีชั่วโมงการทำงานเฉลี่ย 7.8 ชั่วโมง/วัน ประสบการณ์ในการทำงานเฉลี่ย 5.7 ปี ส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 70.5 ไม่มีประวัติกรรมพันธุ์เจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งร้อยละ 92.0 ไม่เคยสูบบุหรี่เลยร้อยละ 91.5 และไม่เคยดื่มสุราร้อยละ 85.7 ความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับสูง โดยระดับการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง และการรับรู้ประโยชน์อยู่ในระดับสูง ส่วนการรับรู้อุปสรรคในการป้องกันการเกิดมะเร็งอยู่ในระดับปานกลาง และพฤติกรรมการป้องกันตนเองต่อการเกิดมะเร็งอยู่ในระดับสูงผลการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองพบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p<0.001) โดยพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ และการรับรู้อุปสรรคในการป้องกันการเกิดมะเร็งกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองมีความสัมพันธ์กันอย่างมีสถิติที่ระดับ (p<0.001) ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรมีการรณรงค์ให้มีการดูแลสุขภาพเชิงรุก เช่น รณรงค์สื่อสารอันตรายจากการรับสัมผัสสารก่อมะเร็ง แนะนำวิธีการป้องกันอันตรายจากสารก่อมะเร็ง จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันสารเคมีส่วนบุคคลแก่กลุ่มผู้ประกอบการอาชีพ และแนะนำการใช้อุปกรณ์ที่ถูกชนิดถูกวิธี รวมทั้งควรจัดให้มีการบริการด้านสุขภาพที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว เป็นต้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8817
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58920193.pdf17.12 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น