กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8805
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพของวัสดุโฟมโพลียูรีเทนเหลือใช้เพื่อดูดซับเสียงเครื่องปั้มโลหะในโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์เหล็กแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Efficiency of reuse polyurethne fom for bsorbing noise of press mchine in steel furniture mnufcturing fctory,smutprkrn province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์
นันทพร ภัทรพุทธ
อารียา นามนต์พิมพ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: โฟม
มหาวิทยาลัยบูรพา--คณะสาธารณสุขศาสตร์
วัสดุโฟม
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ทำการศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับเสียงของโฟมโพลียรูีเทนเหลือใช้การกระบวนการผลิตนำมาจัดทำเป็นฉากดูดซับเสียงที่ขนาดความหนา 0.25 นิ้ว 0.5 นิ้ว 1 นิ้วและ 2 นิ้ว กับกรณีศึกษาทั้ง 4 กรณีประกอบด้วยกรณีที่ 1 เปิดเครื่องจักรทั้งสามเครื่องพร้อมกัน 3 ลักษณะงาน กรณีที่ 2 เปิดเฉพาะเครื่องปั๊มแบบตัดเหล็ก ทั้ง 3 เครื่อง กรณีที่ 3 เปิดเฉพาะเครื่องปั๊มแบบเจาะ ทั้ง 3 เครื่อง และกรณีที่ 4 เปิดเฉพาะเครื่องปั๊มแบบพับทั้ง 3 เครื่อง ทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3 คน แบ่งเป็นเพศชายร้อยละ 66.7 และเพศหญิง ร้อยละ 33.3 มีอายุเฉลี่ย 23-49 ปีและอายุงาน 8.3 ปี ระดับเสียงแผนกปั๊มอะไหล่ย่อยในโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์เหล็กแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการก่อนการติดตั้งฉากดูดซับเสียงพบว่า อยู่ในช่วง 82.8-92.5 เดซิเบลเอและมีลักษณะ เสียงเป็นแบบเสียงดังต่อเนื่องแต่ไม่คงที่หลังทำการติดตั้งฉากดูดซับเสียงที่ความหนาขนาดต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่า กรณีที่ 1 ฉากที่ลดเสียงได้ดีที่สุด คือ ฉากหนา 2 นิ้วลดได้ 2.0-4.1 เดซิเบลเอกรณีที่ 2 ฉากที่ลดเสียงได้ดีที่สุด คือ ฉากหนา 0.25 และ 1 นิ้วลดได้ 1.4-4.6 เดซิเบลเอกรณีที่ 3 ฉากที่ลด เสียงได้ดีที่สุด คือ ฉากหนา 1 นิ้วลดได้ 2.0-4.1 เดซิเบลเอและกรณีที่ 4 ฉากที่ลดเสียงได้ดีที่สุด คือ ฉากหนา 2 นิ้วลดได้ 1.5-3.0 เดซิเบลเอเมื่อทำการทดสอบด้วยสถิติ Paired t-Test ในรายความถี่ของการดูดซับเสียงของขนาดความหนาที่ดูดซับเสียงได้ดีที่สุดพบว่า กรณีที่ 1 ขนาดความหนา 2 นิ้ว ที่ความถี่ 500 เฮิรตซ์และ 2,000 เฮิรตซ์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p = 0.015 และ p = 0.016 ตามลำดับ) แต่กลับ พบว่า ที่ความถี่ 1,000 เฮิรตซ์และ 4,000 เฮิรตซ์ไม่มีความแตกต่างกัน กรณีที่ 2 ที่ขนาดความหนา 0.25 นิ้ว ที่ความถี่ 1,000 เฮิรตซ์ 2,000 เฮิรตซ์และ 4,000 เฮิรตซ์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p = 0.001 p = 0.037 และ p = 0.032 ตามลำดับ) แต่กลับ พบว่า ที่ความถี่ 500 เฮิรตซ์ไม่มีความแตกต่างกัน และขนาดความหนา 1 นิ้ว ที่ความถี่ 1,000 เฮิรตซ์และ 2,000 เฮิรตซ์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p = 0.001 และ p = 0.011 ตามลำดับ) แต่กลับ พบว่า ที่ความถี่ 500 เฮิรตซ์และ 4,000 เฮิรตซ์ ไม่มีความแตกต่างกัน กรณีที่ 3 ที่ขนาดความหนา 1 นิ้ว ที่ความถี่ 1,000 เฮิรตซ์ 2,000 เฮิรตซ์และ 4,000 เฮิรตซ์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p = 0.001 p = 0.025 และ p = 0.038 ตามลำดับ) แต่กลับ พบว่า ที่ความถี่ 500 เฮิรตซ์ไม่มีความแตกต่างกันและกรณีที่ 4 ที่ขนาดความหนา 2 นิ้ว ที่ความถี่ 500 เฮิรตซ์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p = 0.001) แต่กลับ พบว่า ที่ความถี่ 1,000 เฮิรตซ์ 2,000 เฮิรตซ์และ 4,000 เฮิรตซ์ไม่มีความแตกต่าง ดังนั้น การศึกษานี้ควรมีการนำโฟมโพลียรูีเทนเหลือใช้มาจัดทำวัสดุลดเสียงร่วมกับอุปกรณ์ป้องกันเสียงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงในสถานประกอบกิจการ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8805
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59920297.pdf3.21 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น