กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8588
ชื่อเรื่อง: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองบังคับบุคคลให้สูญหายในประเทศไทย : ศึกษาการกำหนดฐานความผิดการบังคับบุคคลให้สูญหาย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legl problem relted to enforced disppernces in thilnd: study offenses to forced disppernces
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ประลอง ศิริภูล
จารุพัฒน์ รูปสง่า
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: บุคคลสูญหาย
บุคคลสาบสูญ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชากฎหมายและอาชญาวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด และทฤษฎีทางกฎหมายการคุ้มครองสิทธิ มนุษยชน ตามนิยามในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย ตลอดจนกฎหมายศึกษากฎหมายต่างประเทศที่บัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย รวมทั้งเพื่อศึกษาสภาพปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิบุคคลมิให้ถูกบังคับให้สูญหายในประเทศไทย และเสนอแนะแนวทางตลอดจนมาตรการในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการ ดําเนินการศึกษาวิจัยนี้ใช้วิธีการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเอกสารเป็นหลัก ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันประเทศไทยในฐานะรัฐภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย การป้องกันบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญ ยังมิได้ดําเนินการอนุวัติการออกกฎหมายภายใน เพื่อให้เป็นไปตามอนุสัญญาดังกล่าว ส่งผลทําให้ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกัน และปราบปรามการบังคับบุคคลให้สูญหายออกมาใช้บังคับ นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจุบัน การกระทําความผิดเกี่ยวกับการการบังคับให้สูญหายในประเทศไทย ยังไม่มีบทบัญญัติที่กําหนดฐานความผิด มาตรการป้องกันและปราบปราม มาตรการเยียวยาผู้เสียหายและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับข้อบทในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันบุคคลทุกคนจากการหาย สาบสูญ ส่งผลให้ไม่สามารถดําเนินคดีกับผู้กระทําความผิดและช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหายได้สมดังเจตนารมณ์ของอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ประเทศไทยผูกพันตนในฐานะรัฐภาคี จากการศึกษาเห็นควรให้ประเทศไทย ดําเนินการอนุวัติการตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญ โดยการออกกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปราม ตลอดจนคุ้มครองบุคคลมิให้ถูกบังคับให้สูญหาย และกําหนดฐาน ความผิดเกี่ยวกับการถูกบังคับให้สูญหายที่ชัดเจน ทั้งนี้เมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าว ข้างต้นแล้ว ก็จะส่งผลให้ประเทศไทยสามารถดําเนินการป้องกันและปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับการบังคับบุคคลให้สูญหายได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถอํานวยความยุติธรรม ให้เกิดขึ้นในสังคมได้อย่างยั่งยืน และเป็นที่ยอมรับของนานาชาติอีกด้วย
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (น.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8588
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57920798.pdf5.88 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น