กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7957
ชื่อเรื่อง: การสะสมทุนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของวิสาหกิจขนาดเล็ก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A cpitl ccumultion with sufficiency economy philosophy of smll enterprises
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมกฤติ อิสริยานนท์
เกริกเกียรติ รสหอมภิวัฒน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: วิสาหกิจชุมชน
การระดมทุน
เศรษฐกิจพอเพียง
Humanities and Social Sciences
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการปัจจัยที่มีผลและแนวทางการสะสมทุนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของวิสาหกิจขนาดเล็กโดยผู้วิจัยใช้การวิจัยภาคสนามโดยการสัมภาษณ์ การสังเกต และการสัมภาษณ์กลุ่มในพื้นที่ของผู้วิจัยรวมถึงการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้วนําข้อมูลมาประมวลจัดระบบ และวิเคราะห์ เพื่อนําเสนอโดยพรรณนาวิเคราะห์ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการสะสมทุนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของวิสาหกิจขนาดเล็กเริ่มจากเดิมที่ดําเนินธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ อะไหล่เครื่องจักรกล และแปรรูปโลหะป้อนให้กับโรงงานอุตสาหกรรมที่ย้ายฐานการผลิตมาอยู่ในประเทศไทยแต่ต้องประสบกับกระแสทุนนิยมโลกจนต้องกู้หนี้ยืมสินมาลงทุนทําให้ประสบปัญหาจึงตัดสินใจขายเฉพาะตัว โรงงาน โดยเป็นการเช่าโรงงานแทนหลังจากที่สามารถชําระหนี้ได้หมด จึงระดมสมองจากพนักงานกําหนดกลยุทธ์ธุรกิจด้วย แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างองค์กรให้เกิดความมั่นคง ผลที่สืบเนื่องจากการดําเนินธุรกิจโดยใช้แนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง ทําให้บริษัทมีกําไรสะสมเพิ่มขึ้นทุกปี สามารถเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 1 ล้านบาท เป็น 22 ล้านบาทโดยปี พ.ศ.2558 และได้สร้างโรงงานแห่งใหม่บนที่ดินของตนเองจํานวน 12 ไร่ ทําให้องค์กรมีกําไรสามารถดําเนินธุรกิจให้อยู่ได้ในระยะยาว ปัจจัยที่มีผลสําเร็จต่อการสะสมทุนแบบพอเพียงของวิสาหกิจขนาดเล็ก ประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลักคือ ปัจจัย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ได้แก่ การพึ่งตนเองขององค์กร การสร้างภูมิคุ้มกันความเสี่ยง รวมถึงองค์ความรู้คู่คุณธรรม ที่ยึดหลักความไม่ประมาทในการทํางาน การละทิ้งอุปาทาน 4 คือ การไม่ยึดมั่นในตัวตน การตัดสินใจลงทุนอยู่บนพื้นฐานของการมีความรู้ที่ตนเองถนัด รวมถึงการร่วมกําจัดคอร์รัปชั่นการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร ส่วนปัจจัยเกี่ยวกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พบว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มมีบทบาทในการมีส่วนร่วมเชิงสมานฉันท์ที่มีผลต่อการสะสมทุนอย่างยุติธรรม ปัจจัยด้านทฤษฎีนวัตกรรม 3 มิติได้แก่ นวัตกรรมการบริหารจัดการการ นวัตกรรมเทคโนโลยีที่พอเพียงทางสายกลางและนวัตกรรมการจัดการทรัพยากรมนุษย์ส่วนปัจจัยด้านทุนตามทฤษฎี Bourdied ได้แก่ ทุนทางสังคม ทุนมนุษย์ทุนทางด้านเศรษฐกิจ ทุนด้านวัฒนธรรม และทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แนวทางการสะสมทุนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของวิสาหกิจขนาดเล็กสามารถนําไปประยุกต์ใช้ได้ 10 ประการด้วยกันประกอบด้วยการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่ต้องคํานึงถึงสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกขององค์กรการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ต้องมีการจัดโครงสร้างองค์กร (Structure) การวางกลยุทธ์ขององค์กร (Strategy) การให้ความสําคัญของบุคลากร (Staff) การฝึกทักษะความรู้ (Skill) และระบบปฏิบัติการ (System) การพัฒนาชุดความคิด (Mindset) ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร การดําเนินการที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงการสร้างนวัตกรรมขององค์กรโดยใช้ปัจจัยนวัตกรรม 3 มิติในการบริหารจัดการการสร้างสุขแก่องค์กรการบริการของวิสาหกิจขนาดเล็กการสร้างภูมิคุ้มกันความเสี่ยงแก่องค์กร การติดตามผลการดําเนินงานตามตัวชี้วัดผลทุนนิยมแบบพอเพียงการขยายผลต้นแบบทุนนิยมแบบพอเพียงไปสู่วิสาหกิจขนาด เล็กรายอื่น ๆ ให้ได้ผลต่อไป
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ร.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7957
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf5.77 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น