กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7956
ชื่อเรื่อง: ขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกับกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ใน พ.ศ. 2548-2557
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Politicl movement of people's llince for democrcy (pd) nd people's democrtic reform committee (pdrc) in b.c. 2005-2014
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธงชัย วงศ์ชัยสุวรรณ
ยุทธพร อิสรชัย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: การต่อสู้ทางการเมือง -- ไทย
การเมือง
Humanities and Social Sciences
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ
ความขัดแย้งทางการเมือง
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุดมการณ์ เจตจํานงทางการเมือง การจัดโครงสร้างองค์กรทางการเมืองยุทธศาสตร์และยุทธวิธีในการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ กับกลุ่ม กปปส. ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2548-2557 เพื่อเสนอทฤษฎีการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนในสังคมไทยโดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร และการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักคือ แกนนํากลุ่มพันธมิตรฯ กลุ่ม กปปส. และนักวิชาการ และวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า การเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ กับกลุ่ม กปปส. ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2548-2557 อยู่บนอุดมการณ์ราชาชาตินิยม และแนวคิดประชาธิปไตยแบบไทย ๆ มีเจตจํานงทางการเมืองที่ มุ่งเน้นการก่อตัวใหม่ของสังคมบางส่วน และมุ่งเน้นทางเลือกมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางประการของนักการเมืองเป็นสําคัญ แต่เจตจํานงดังกล่าวได้มุ่งไปที่การเปลี่ยนการเมือง มากกว่าจะเป็นการมุ่งไปที่การ เปลี่ยนหรือสร้างประชาสังคม มีการจัดโครงสร้างองค์กรทางการเมืองในลักษณะการทําแนวร่วมระหว่างชนชั้นหากแต่ดุลอํานาจในการเคลื่อนไหวเป็นของฝ่ายชนชั้นกลางมากกว่าภาคประชาชน แกนนํา พันธมิตรหรือ ผู้สนับสนุน และผู้เข้าร่วมชุมนุมที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน เป็นปัจจัยแห่งความสําเร็จ มียุทธศาสตร์การเคลื่อนไหวที่อาศัยโครงสร้างโอกาสทางการเมือง เพื่อสร้างความสําเร็จทางการเมืองโดยใช้ยุทธวิธีขัดขวางท้าทายระบบการเมืองปกติ มุ้งเน้นขัดขวางการทํางานของกลไกการเมืองปกติ เพื่อสร้างสภาวะ “รัฐล้มเหลว” ปรากฏการณ์ดังกล่าวนําไปสู่การสร้าง “ทฤษฎีการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนในสังคมไทย” ซึ่งแตกต่างจากทฤษฎีการระดมทรัพยากรและแนวการวิเคราะห์กระบวนการทางการเมือง ที่มักถูกหยิบยกมา ใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในตะวันตก แต่ไม่อาจอธิบายปรากฎการณ์ในการเคลื่อนไหวของขบวนการภาคประชาชนในสังคมไทยช่วง พ.ศ. 2548 – 2557 ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ เพราะมีปัจจัยสําคัญที่ส่งผลให้แตกต่างไปจากบริบทของการเคลื่อนไหวภาคประชาชนในสังคมตะวันตก คือ โครงสร้างรัฐรวมศูนย์ วัฒนธรรมทางการเมืองไทย การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม และปัญหาอุปสรรคของการพัฒนาประชาธิปไตยที่ตั้งมั่นในสังคมการเมืองไทย
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ร.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7956
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น