กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7954
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorอมรทิพย์ อมราภิบาล
dc.contributor.authorสมศรี วัฒนชัย
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T06:14:59Z
dc.date.available2023-05-12T06:14:59Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7954
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหวาดกลัวอาชญากรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อความหวาดกลัวอาชญากรรมของผู้พักอาศัยในอพาร์ตเม้นต์หอพัก และคอนโดมิเนียม ในจังหวัดชลบุรี โดยความหวาดกลัวแบ่งเป็น 2 มิติ มิติแรกคือความรู้สึกกังวลเกี่ยวกับอาชญากรรม และมิติที่สองคือพฤติกรรมที่แสดงออก (เมื่อรู้สึกหวาดกลัว) การออกแบบวิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจํานวน 392 คน เครื่องมือวิจัยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณาสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson -r) การวิเคราะห์ถดถอยพหุ (MRA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า ผู้พักอาศัยในอาคารทั้ง 3 ประเภทกังวลเกี่ยวกับอาชญากรรมในภาพรวมระดับปานกลาง ประเภทอาชญากรรมที่กังวลมากที่สุด คือ การทําร้ายร่างกาย ( X = 2.89) การฆาตกรรม ( X = 2.86) และการลักยานพาหนะ ( X = 2.86) พิจารณาปัจจัยเพศผู้ตอบ พบว่า เพศหญิงกังวลมากกว่าเพศชายในทุกประเภท อาชญากรรม โดยอาชญากรรมที่เพศหญิงกังวลมากที่สุดคือ การลักยานพาหนะ ( X = 3.44) การฉกชิงวิ่งราว ( X = 3.44 การจี้การปล้น ( X = 3.43) ในขณะที่ประเภทอาชญากรรมที่เพศชายกังวลมากที่สุดคือ การทําร้ายร่างกาย ( X = 2.27) การฆาตกรรม ( X = 2.26) และการลักยานพาหนะ ( X = 2.16) ส่วนด้านพฤติกรรมที่แสดงออกพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง โดยแสดงออกมากที่สุด คือ 1. พฤติกรรมป้องกันด้วยการติดกลอนประตู กุญแจ และสัญญาณกันขโมย ( X = 3.63) และ 2. พฤติกรรมหลีกเลี่ยงการออกนอกที่พักอาศัยในเวลากลางคืน ( X = 3.48) ผลการวิเคราะห์ยังพบว่าความกังวลกับพฤติกรรมที่แสดงออกความสัมพันธ์สัมพันธ์กันร้อยละ 49 ส่วนผลการวิเคราะห์ MRA พบว่า 5 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความกังวล เรียงตามลําดับขนาดอิทธิพล ได้แก่ ปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยง (β = .481) เพศ (β = .281) การรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาชญากรรม (β = .15) ทัศนคติต่อกระบวนการยุติธรรม (β = .082) ตามลําดับ ปัจจัยด้านความปลอดภัยที่พักอาศัย (β = -.077) และผลการวิเคราะห์ One – Way ANOVA พบว่า ประเภทที่พักอาศัยมีนัยสําคัญต่อความกังวล โดยผู้พักอาศัยในคอนโดมิเนียมรู้สึกกังวลน้อยกว่าผู้พักอาศัยในหอพักและในอพาร์ตเม้นต์
dc.language.isoth
dc.publisherคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectความกลัว
dc.subjectอาชญากรรม -- ชลบุรี
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม
dc.subjectอาชญากรรม
dc.subjectการป้องกันอาชญากรรม
dc.titleความหวาดกลัวอาชญากรรมของผู้พักอาศัยในอพาร์ตเม้นต์ หอพัก และคอนโดมิเนียมในพื้นที่จังหวัดชลบุรี
dc.title.alternativeFer of crime mong prtment, dormitory nd condominium residentsin chonburi province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study were to study the fear of crime and the factors effecting the fear of crime among the resident in dormitory, apartment and condominium, in Chonburi province. The fear mentioned in this study was divided into 2 dimensions; firstly, the feeling worry about crime and secondly the expression of behavior (when they were in fear of crime). The research design was quantitative approached with 392 participants. The questionnaires was used as a study instrument. Descriptive Statistic, Multiple Regression Analysis (MRA) and Oneway ANOVA were adopted for analysis. The study results revealed that the 3 groups of resident worried about crime at the moderate level. The type of crimes that they were most worry about were physical assault ( X = 2.89) murder ( X = 2.86) and vehicle stealing ( X = 2.86). Concerning sex of participants, female was more worry than male in every crime categories. In detail, the type of crime that female was most worry about were vehicle stealing ( X = 3.44) snatch ( X = 3.44) and robbery ( X = 3.43), respectively. Whereas, male was most worried about physical assault ( X = 2.77), murder ( X = 2.26) and vehicle stealing ( X = 2.16), respectively. For the expression of behavior of all groups of resident, the finding was showed at moderate level. The most out standing behaviors were 1. instating door lock and alarm ( X = 3.63), 2. avoiding night out activities ( X = 3.48). The analysis also presented 49% correlation between worry about crime and the expression behavior. The MRA presented factors effecting the worry of participants; perception of risk (β = .481), sex (β = .281), perception of information about crime (β = .15), attitude toward justice procedure (β = .082 ), safety in residence (β = -.077). The One -way ANOVA indicated that the resident in apartment more worried than the resident in dormitory and condominium.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารงานยุติธรรมและสังคม
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.56 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น