กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7945
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้นำชุมชนในเขตพื้นที่หมู่ 7 ตำบลหนองบอน อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The fctors influencing decision to electing the locl leder in villge no. 7 t nongbon sub-district, mung district, skew province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ไพฑูรย์ โพธิสว่าง
กอบชัย จันทร์ผง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: ผู้นำชุมชน -- การเลือกตั้ง
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการเมืองการปกครอง
การตัดสินใจ
ผู้นำชุมชน -- สระแก้ว
Humanities and Social Sciences
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่า ปัจจัยอะไรบ้างที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้นําชุมชนเขตพื้นที่หมู่ 7 ตําบลหนองบอน อําเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว กําหนดกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยด้วยสูตรของยามาเน่ โดยกําหนดระดับความเชื่อมั่นที่ 0.5 ได้จํานวนตัวอย่าง 211 ตัวอย่าง วิเคราะห์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. การเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน เขตพื้นที่หมู่ 7 ตําบลหนองบอน อําเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้นําชุมชนผู้ที่ได้อันดับ 1 ซึ่งชนะการเลือกตั้งได้เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 ตําบลหนองบอน อําเภอเมือง จังหวัดสระแก้วคือ ปัจจัยด้านนโยบาย เป็น ปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุด รองลงมาคือ ปัจจัยด้านผลประโยชน์ตอบแทน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้ ซึ่งสามารถนํามาเขียนเป็นสมการได้ดังนี้ Get top score = 25.262 + 4.221 (ด้านนโยบาย) – 1.401 (ด้านผลประโยชน์ตอบแทน) 2. การเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนตําบน เขตพื้นที่หมู่ 7 ตําบลหนองบอน อําเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้นําชุมชนผู้ที่ไดอันดับ 1 ซึ่งชนะการเลือกตั้งได้เป็นสมาชิกสมาชิกองค์การบริหารส่วนตําบน เขตพื้นที่หมู่ 7 ตําบลหนองบอน อําเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว คือ ปัจจัยด้านผลประโยชน์ตอบแทนเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุด รองลงมาคือ ปัจจัยด้านนโยบายอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้ ซึ่งสามารถนํามาเขียนเป็นสมการได้ดังนี้ Get top score = 55.555 -1.168 (ด้านผลประโยชน์ตอบแทน) + 1.614 (ด้านนโยบาย) ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพนั้น จากการสัมภาษณ์พบว่า นโยบายที่ผู้สมัครใช้หารเสียงในเรื่อง การทํางานจริง การพึ่งพาได้ และการเสียสละ เป็นปัจจัยที่ทําให้ประชาชนเลือกเป็นปัจจัยหลัก อีกปัจจัยหนึ่งก็คือ ผลประโยชน์ตอบแทน การจ่ายค่าเดินทางให้สําหรับผู้ที่มีสิทธ์เลือกตั้งในพื้นที่แต่ไม่ได้อาศัยอยู่ในพื้นที่เวลานั้น จะมีค่าเดินทางและค่าเสียเวลาให้ โดยจะเลือกเฉพาะบุคคลที่คิดว่าได้คะแนนจาก บุคคลนั้นจริง ๆ และผลประโยชน์ตอบแทนในด้านส่วนรวม เช่น การช่วยเหลือพิธีงานต่างๆใน ชุมชน เหล่านี้เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้นําชุมชน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7945
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf993.99 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น