กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7939
ชื่อเรื่อง: ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทย-ญี่ปุ่น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The study of comprison between the thi nd jpnese lws
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อรรัมภา ไวยมุกข์
กิตติรัตน์ กิตยสิทธานาถ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: Humanities and Social Sciences
กฎหมายเปรียบเทียบ
กฎหมาย
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชากฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการดําเนินคดีสิ่งแวดล้อมของพนักงานอัยการในลักษณะเปรียบเทียบ ประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นซึ่งประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ประสบความสําเร็จในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม รวมตลอดจนศึกษาถึงกฎหมายต่าง ๆ ที่ให้อํานาจพนักงานอัยการรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 รวมทั้งกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการดําเนินคดี สิ่งแวดล้อม เพื่อให้สามารถกําหนดมาตรการที่เหมาะสมแก่ประเทศไทยในการที่จะให้การดําเนินคดีสิ่งแวดล้อมให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล จากการศึกษาพบว่า พนักงานอัยการไทยจะประสบปัญหาในเรื่องของการพิสูจน์ถึงความผิดที่ผู้กระทําผิด และกระทําความผิดเมื่อใด รวมไปถึงปัญหาเรื่องของเขตอํานาจการสอบสวน และเขตอํานาจศาล ประเด็นต่อมาพบว่าใน เรื่องของการดําเนินการในชั้นพนักงานสอบสวนซึ่ง การดําเนินการสอบสวนในคดีสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันของประเทศ ไทยนั้นไม่มีความแตกต่างไปจากคดีอาญาทั่วไป ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมนั้นมักส่งผลกระทบต่อประชาชนจํานวนมาก ผู้วิจัยพบว่าพนักงานสอบสวนและเจ้าหน้าที่ตํารวจขาดความรู้ความเชี่ยวชาญโดยตรง ด้านสิ่งแวดล้อม ทําให้เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานในคดีสิ่งแวดล้อม ซึ่งเมื่อศึกษา เปรียบเทียบกับประเทศญี่ปุ่นแล้วพบว่าการดําเนินคดีสิ่งแวดล้อมของประเทศญี่ปุ่น ฝ่ายบริหารหรือฝ่ายปกครองจึงเป็นผู้ตัดสินว่าการกระทําใดผิดกฎหมายแล้วจึงแจ้งเจ้าหน้าที่ตํารวจให้ดําเนินการ ผู้วิจัยจึงเสนอให้มีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อมแยกต่างหากจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญา และควรมีตัวบทกฎหมายสารบัญญัติเฉพาะเป็นหมวดหมู่ในการดําเนินคดีสิ่งแวดล้อม สืบเนื่องจากคดีสิ่งแวดล้อมมี ลักษณะแตกต่างจากคดีอาญาทั่วไป หากดําเนินการอย่างเดียวกัน ย่อมไม่บรรลุวัตถุประสงค์ในการปกป้องกันและปกปักษ์รักษาผลประโยชน์ของประชาชน โดยเหตุผลที่ว่าคดีสิ่งแวดล้อมนั้นก่อผลกระทบต่อประชาชนจํานวนมาก ไม่ใช่ ผู้เสียหายเพียงคนเดียวหรือกลุ่มเดียว ในส่วนของการสอบสวนคดีสิ่งแวดล้อมผู้วิจัยเสนอให้กําหนดให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นเจ้าของหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องสิ่งแวดล้อมโดยตรงเป็นพนักงานสอบสวนในคดีสิ่งแวดล้อม ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตํารวจ นอกจากนี้ยังควรให้อํานาจพนักงานอัยการสามารถสอบสวนเพิ่มเติมได้ด้วยตนเองในส่วนของคดีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมเพื่อพิสูจน์ความมีผิดและบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา นอกจากนี้ ผู้วิจัยเห็นว่าบรรดากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยควรมีลักษณะที่เป็นการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจําเลยมีความผิด เว้นแต่จําเลยจะสามารถพิสูจน์ได้ว่าการกระทําของจําเลยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ประกอบกิจการส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และผู้ประกอบการอันอาจ ก่อให้เกิดมลพิษ ยังต้องดําเนินการป้องกันการก่อให้เกิดมลพิษตั้งแต่เริ่มต้นดําเนินกิจการควรมีเจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้อง ผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงนั้น ๆ ร่วมในการสอบสวนกับพนักงานสอบสวน อีกทั้งพนักงานอัยการในประเทศไทยก็ขาด ความรู้เชี่ยวชาญโดยตรงในการดําเนินคดีสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย จึงทําให้เป็นอุปสรรคในการรวบรวม พยานหลักฐานและฟ้องคดีต่อศาล ควรมีตัวบทกฎหมายสารบัญญัติเฉพาะในการดําเนินคดีสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย เนื่องจากกฎหมายสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยกระจัดกระจายอยู่ตามพระราชบัญญัติต่าง ๆ มากเกินไปจนเป็นภาระในการดําเนินการของผู้ปฏิบัติงานต่าง ๆ ในการปฏิบัติการตามหน้าที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายสิ่งแวดล้อม
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (น.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7939
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf542.87 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น