กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7809
ชื่อเรื่อง: การเปรียบเทียบความตรงร่วมสมัยของมาตรวัดความสุขตามทฤษฎี Perma มาตรวัดความสุข Thai mental health indicator และมาตรวัดความสุขของคนไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A comprison of concurrent vlidity mesures for three instruments: the perm hppiness scle, the thi mentl helth indictor, nd the thi hppiness scle
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กนก พานทอง
ปิยะทิพย์ ประดุจพรม
จุฑาวรรณ หันทะยุง
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: ความสุข
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวัดและเทคโนโลยีทางวิทยาการปัญญา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างมาตรวัดความสุข ของคนไทยตามทฤษฏี PERMA เปรียบเทียบความตรงร่วมสมัย ความตรงเชิงลู่ออก และเปรียบเทียบความสุขของคนไทย โดยจำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ และรายได้ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนใน จังหวัดสระแก้ว จำนวน 1,143 คน ซึ่งมีการพัฒนามาตรวัดในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชั่น (www.Thai-PERMA.com) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบ t-test และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ ทางเดียว ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. มาตรวัดความสุขของคนไทยตามทฤษฏี PERMA ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านอารมณ์เชิงบวก ด้านความผูกพัน ด้านสัมพันธภาพ ด้านความหมาย และด้านความสำเร็จ มี 15 ข้อ มีค่า I-CVI เท่ากับ 0.67-1.00 และ S-CVI เท่ากับ 0.96 ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.83 ค่าอำนาจจำแนก เท่ากับ 0.31- 0.74 ผลการตรวจสอความตรงเชิงโครงสร้างสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2. เปรียบเทียบความตรงร่วมสมัยของมาตรวัดความสุขของคนไทยตามทฤษฏี PERMA กับมาตรวัดความสุข Thai Mental Health Indicator มาตรวัดความสุขของคนไทยตามทฤษฏี PERMA กับมาตรวัดความสุขของคนไทย และมาตรวัดความสุข Thai Mental Health Indicator กับมาตรวัดความสุขของคนไทย มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ทดสอบความตรงเชิงลู่ออกของมาตรวัดความสุขของคนไทยตามทฤษฏี PERMA กับมาตรวัดความซึมเศร้าของเบค มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ผลการเปรียบเทียบความสุขของคนไทย จำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ และรายได้ ปรากฏว่า ความสุขของคนไทยไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามเพศ และรายได้ และความสุข ของคนไทยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกตามอายุ และอาชีพ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7809
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf8.94 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น