กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7787
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของรูปแบบการเป็นผู้นำของผู้ฝึกสอนบรรยากาศการจูงใจความสามัคคีและความเชื่อมั่นในทีมที่มีต่อความพึงพอใจในประสิทธิภาพของทีมฟุตบอลอาชีพไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Cusl reltionship mong ledership style, motivtion climte, tem cohesion, nd collective efficcy on performnce stisfction in thi professionl footbll tems
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร
พูลพงศ์ สุขสว่าง
ฉัตรกมล สิงห์น้อย
เทเวศน์ จันทร์หอม
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
คำสำคัญ: ฟุตบอล -- ไทย
ผู้ฝึกสอนฟุตบอล
ฟุตบอล -- การฝึก
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ระหว่างรูปแบบการเป็นผู้นำของผู้ฝึกสอนกับบรรยากาศการจูงใจความสามัคคีและความเชื่อมั่นในทีมที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในประสิทธิภาพของทีม ข้อมูลได้จากการตอบแบบสอบถามมาตรฐาน 5 ฉบับ คือ แบบสอบถามการรับรู้การเป็นผู้นำของผู้ฝึกสอน แบบสอบถามบรรยากาศการจูงใจ แบบสอบถามความสามัคคีในทีมกีฬาประเภททีม แบบสอบถามความเชื่อมั่นในทีม และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักกีฬากลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตบอลอาชีพระดัยไทยพรีเมียร์ลีก ปี พ.ศ. 2560 จำนวน 220 คน ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ความเชื่อมั่นในทีมมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในประสิทธิภาพของทีมฟุตบอลอาชีพไทยมากที่สุด 2) รูปแบบการเป็นผู้นำของผู้ฝึกสอนแบบประชาธิปไตยนิยมใช้มากที่สุด 3) รูปแบบการเป็นผู้นำของผู้ฝึกสอนแบบประชาธิปไตย แบบสนับสนุนทางสังคม แบบฝึกและสอน แบบชมเชยหรือเน้นการให้รางวัล มีความสัมพันธ์กับบรรยากาศการจูงใจด้านมุ่งเน้นที่ความชำนาญ 4) รูปแบบการเป็นผู้นำของผู้ฝึกสอนแบบเผด็จการ แบบฝึกและสอน และแบบสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์กับบรรยากาศการจูงใจด้านมุ่งเน้นประสิทธิผล 5) ปัจจัยความสามัคคีในทีมด้านรวมกลุ่มด้วยงานมีอิทธิต่อความเชื่อมั่นในทีมมากกว่ารวมกลุ่มทางสังคม สรุปได้ว่า ปัจจัยด้านรูปแบบความเป็นผู้นำของผู้ฝึกสอนทั้ง 5 แบบ ส่งผลต่อความพึงพอใจในประสิทธิภาพของทีมฟุตบอลอาชีพไทยโดยส่งผ่านตัวแปรทั้ง 3 ตัวแปร ได้แก่ บรรยากาศการจูงใจ ความสามัคคีและความเชื่อมั่นในทีมทั้งทางตรงและทางอ้อม ผู้ฝึกสอนสามารถนำ โมเดลที่พัฒนาขึ้นนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนานักกีฬาและทีมให้ประสบความสำเร็จต่อไป
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7787
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.26 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น