กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7782
ชื่อเรื่อง: ผลของโปรแกรมการสนับสนุนในระยะคลอดโดยญาติผู้หญิงต่อความกลัวการคลอดและการรับรู้ประสบการณ์การคลอดในผู้คลอดวัยรุ่นครรภ์แรก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of lbor support by femle reltive progrm on fer of childbirth nd perception of childbirth experience mong first time dolescent mothers
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณี เดียวอิศเรศ
อุษา เชื้อหอม
ชุลีพร การะภักดี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: การคลอด -- การดูแล
การคลอด
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การมีญาติผู้หญิงคอยดูแลผู้คลอดวัยรุ่นครรภ์แรกอาจช่วยลดความกลัวการคลอด และส่งเสริมให้มีประสบการณ์การคลอดที่ดี การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความกลัวการคลอดและการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของผู้คลอดวัยรุ่นครรภ์แรกที่ได้รับ โปรแกรมการสนับสนุนในระยะคลอดโดยญาติผู้หญิงกบผู้คลอดที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็ นผู้คลอดวัยรุ่นครรภ์แรกที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าและมาคลอดที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ -พฤษภาคม พ.ศ. 2561 จํานวน 47 คน เป็ นกลุ่มควบคุม 22 คน กลุ่มทดลอง 25 คน กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มทดลองได้ทั้งการดูแลตามปกติและโปรแกรมการสนับสนุนในระยะคลอดโดยญาติผู้หญิง รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความกลัวการคลอด และแบบประเมินการรับรู้ประสบการณ์การคลอด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และทดสอบความ แตกต่างข้อมูลด้วยสถิติไคสแควร์ ฟิชเชอร์เอ็กแซกท์ และการทดสอบทีแบบอิสระ ผลการวิจัยพบว่า ผู้คลอดวัยรุ่นในกลุ่มทดลองส่วนใหญ่เลือกมารดาตนเองเป็นผู้ให้การสนับสนุนในระยะคลอด กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความกลัวการคลอดตํ่ากว่ากลุ่มควบคุมทั้งในระยะปากมดลูกเร็ว (t45 = 3.61, p< .01) และตลอดระยะเวลาของการคลอด (t45 = 5.95, p< .001) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ และมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ประสบการณ์การคลอดทางบวกสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (t45 = -3.86, p < .001) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ และมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ประสบการณ์การคลอดทางบวกสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (t45 = -3.86, p < .001) จากผลการวิจัยเสนอแนะว่า พยาบาลห้องคลอดควรจัดให้ญาติผู้หญิงเข้าไปให้การสนับสนุนดูแลผู้คลอดในระยะคลอดโดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นวัยรุ่นครรภ์แรก เพื่อช่วยลดความกลัว และส่งเสริมการรับรู้ประสบการณ์การคลอดที่ดีแก่ผู้คลอด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7782
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.74 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น