กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7772
ชื่อเรื่อง: การขัดเกลาทางสังคมในเรื่องเพศของครอบครัวนักเรียนวัยรุ่นตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Sexul sociliztion of the erly dolescent fmily in the eduction opportunity expnsion schools under the office of chonburi primry service eduction re i
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณี เดียวอิศเรศ
จินตนา วัชรสินธุ์
วัชรินทร์ เอี่ยมศิริ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: เพศศึกษาสำหรับวัยรุ่น
เพศศึกษา
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฎิบัติครอบครัว
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การขัดเกลาทางสังคมในเรื่องเพศแก่บุตรวัยรุ่นเป็นบทบาทที่สำคัญของครอบครัวการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการขัดเกลาทางสังคมในเรื่องเพศของครอบครัว นักเรียนวัยรุ่นตอนต้นในครอบครัวที่มีโครงสร้างครอบครัวและผู้ปกครองมีระดับการศึกษาแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ปกครองของวัยรุ่นตอนต้นที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมปีที่ 1-3 ในโรงเรียน ขยายโอกาส เขตอำเภอเมืองชลบุรี จำนวน 260 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ปกครองและแบบสอบถามการขัดเกลาทางสังคมในเรื่องเพศ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาค่าสถิติ t-test และการวิเคราะห์หาความแปรปรวน ผลการวิจัย พบว่า การขัดเกลาทางสังคมในเรื่องเพศของครอบครัวนักเรียนทั้ง 5 แบบ อยู่ในระดับสูงและพบว่า ครอบครัวที่ผู้ปกครองมีระดับการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปมี ค่าเฉลี่ยคะแนนขัดเกลาทางสังคมในเรื่องเพศแบบทั่วไปแบบไว้ใจแบบเข้มงวด และแบบทบทวน สูงกว่าครอบครัวที่ผู้ปกครองมีการศึกษาในระดับต่ำกว่ามัธยมศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.5) ส่วนการขัดเกลาทางสังคมในเรื่องเพศแบบเหนื่อยล้าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และโครงสร้างครอบครัวที่แตกต่างกัน มีการขัดเกลาทางสังคมในเรื่องเพศ แบบทั่วไป แบบเข้มงวด และแบบเหนื่อยล้าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.5) ส่วนการขัดเกลาทางสังคมในเรื่องเพศแบบไว้ใจและแบบทบทวนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษานี้เสนอแนะว่า พยาบาลครอบครัวหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องควรจัดทำโปรแกรมในการขัดเกลาทางสังคมในเรื่องเพศให้แก่ครอบครัวนักเรียนวัยรุ่นตอนต้นที่เหมาะสมกับลักษณะโครงสร้างของครอบครัวและระดับการศึกษาของผู้ปกครอง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7772
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.66 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น