กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7701
ชื่อเรื่อง: การบริหารโครงการโรงเรียนคุณธรรมในอำเภอเมืองจังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Morl school dministtion in meung ryong district t ryong province under the secondry eductionl service re office 18
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สฎายุ ธีระวณิชตระกูล
ภัคณัฏฐ์ สมพงษ์ธรรม
กนกวรรณ ชื่นใจจิตต์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ความดี
โรงเรียนมัธยมศึกษา -- การบริหาร
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ และหาแนวทางการบริหารโครงการโรงเรียนคุณธรรมในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษ าเขต 18 จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูจำนวน 266 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .41 ถึง .78 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการทดสอบรายคู่ด้วย Scheffe’s method ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารโครงการโรงเรียนคุณธรรมในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 พบว่า โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบการบริหารโครงการโรงเรียนคุณธรรมในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 จำแนกตามตำแหน่ง พบว่า แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านความซื่อสัตย์สุจริต แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อจำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านความซื่อสัตย์สุจริต แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 2. แนวทางการบริหารโครงการโรงเรียนคุณธรรมในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 พบว่า ด้านความพอเพียง ควรน้อมนำปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำของครู โดยการจัดอบรมหรือถ่ายทอดจากผู้มีประสบการณ์ ควรสร้างความตระหนักให้ครูจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายของตนเอง เริ่มจากการบันทึกรายได้ กำหนดรายจ่ายในแต่ละเดือน และบันทึกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง ติดตามและประเมินผล ด้านความรับผิดชอบ ควรใช้กระบวนการ PDCA คือ Plan (วางแผน) Do (ปฏิบัติ) Check (ตรวจสอบ) และ Act (การดำเนินการให้เหมาะสม) มาช่วยในการทำงานของครู มอบหมายงานให้ชัดเจน และเหมาะสมกับคนที่ได้รับ การที่ครูได้ทำงานที่ถนัดกับความสามารถของตนเอง จะช่วยให้ การทำงานได้ผลดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุด และด้านอุดมการณ์คุณธรรม สร้างวัฒนธรรมองค์กรด้านคุณธรรมให้กับครู โดยคัดเลือกครูรุ่นพี่ที่มีอุดมการณ์คุณธรรมที่เหมาะสมกับองค์กรหรือสามารถนำมาปรับใช้กับองค์กรได้ มาเป็นตัวอย่างให้กับครูรุ่นน้อง ปลูกฝังคุณธรรมให้กับครู โดยเริ่มจากความพอเพียง เพราะหากครูไม่ต้องวิตกกังวลกับภาระทางการเงิน ครูก็จะมีเวลาคิด เรื่องอื่น และสามารถปฏิบัติตนบนพื้นฐานคุณธรรมด้านอื่นได้ตามมา
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7701
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.77 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น