กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7681
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศด้านการจัดการเรียนการสอนหุ่นยนต์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development model for excellence dministrtion of robot instruction under primry office commission
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุเมธ งามกนก
สมพงษ์ ปั้นหุ่น
วีรชน บัวพันธ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: หุ่นยนต์ -- การศึกษาและการสอน
การจัดการเรียนการสอน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
โรงเรียน -- การบริหาร
วิทยานิพนธ์ ?aปริญญาเอก
ความเป็นเลิศ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง สำรวจ ตรวจสอบ ทดลองใช้ และรับรองรูปแบบ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัย มีขั้นตอนดังนี้ 1) ศึกษางานวิจัย หลักการ แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนคุณภาพและรางวัลโรงเรียนคุณภาพ เพื่อให้ได้กรอบรูปแบบ จำนวน 6 ประเด็น 2) สำรวจข้อมูลในโรงเรียนที่เป็นเลิศด้านหุ่นยนต์และโรงเรียนที่เริ่มจัดการเรียนการสอนหุ่นยนต์ โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ กับผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 24 คน 3) สร้างร่างรูปแบบและตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้นของร่างรูปแบบ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 คน 4) ทดลองใช้ร่างรูปแบบ ในโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 2 โรงเรียน ในจังหวัดฉะเชิงเทรา 5) ปรับปรุงร่างรูปแบบและ การรับรองร่างรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 คน 6) เขียนรายงานการวิจัยเพื่อเสนออาจารย์ ที่ปรึกษาพิจารณา การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสังเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การสอบถามโดยใช้แบบสอบถาม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และเปรียบเทียบข้อมูลเพื่อการสรุปผล ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการสร้างกรอบรูปแบบ ได้ ประเด็นในกรอบรูปแบบ 6 ประเด็น คือ 1.1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1.2) หลักสูตรสถานศึกษา และการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ 1.3) อาคาร สถานที่ บรรยากาศ และสิ่งแวดล้อม เอื้อต่อ การเรียนรู้ของนักเรียน 1.4) โรงเรียน และชุมชนร่วมมือกันจัดการศึกษา 1.5) ครู และบุคลากรได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ 1.6) โรงเรียนมีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับ 2) ผลการสร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศด้านหุ่นยนต์ ได้รูปแบบ S’LCN4M: PAR ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ ได้ผลว่า รูปแบบมีคุณภาพ และสามารถนำรูปแบบ ไปใช้ได้จริง 3) ผลสำเร็จที่ได้จากการทดลองใช้ร่างรูปแบบ ซึ่งเป็นผลสำเร็จที่เกิดขึ้นกับ โรงเรียน ที่จัดการเรียนการสอนหุ่นยนต์ ครูผู้สอนหุ่นยนต์ และนักเรียนที่เรียนหุ่นยนต์ 3.1) ผลสำเร็จของโรงเรียนที่ทดลองใช้ร่างรูปแบบ ผลสำเร็จในด้านการมีหลักสูตรหุ่นยนต์ของโรงเรียน โรงเรียน ทั้ง 2 โรงเรียนที่ทดลองใช้ร่างรูปแบบมีหลักสูตรหุ่นยนต์ของโรงเรียนเป็นไปตามเป้าหมาย และตัวชี้วัดและในด้านรางวัลที่โรงเรียนได้รับ เป็นไปตามเป้าหมายและตัวชี้วัด 1 โรงเรียนและ ไม่เป็นไปตามเป้าหมายและตัวชี้วัด 1 โรงเรียน 3.2) ผลสำเร็จของครูผู้สอนหุ่นยนต์ ในด้านความรู้ความสามารถและการจัดการเรียนการสอนหุ่นยนต์ ครูผู้สอนหุ่นยนต์ทั้ง 2 โรงเรียน มีผลการประเมิน ในระดับดีมาก และในด้านรางวัลที่ครูได้รับ เป็นไปตามเป้าหมายและตัวชี้วัด 1 คน และไม่เป็นไปตามเป้าหมายและตัวชี้วัด 1 คน 3.3) ผลสำเร็จของนักเรียนที่เรียนหุ่นยนต์ ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนที่เรียนหุ่นยนต์ ทั้ง 26 คน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหุ่นยนต์ในระดับดีมาก และในด้านรางวัลที่นักเรียนได้รับ เป็นไปตามเป้าหมายและตัวชี้วัด 13 คน และไม่เป็นไปตามเป้าหมายและตัวชี้วัด 13 คน
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7681
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf15.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น