กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7658
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors influencing the effectiveness cdemic dministrtion in secondry eductionl extention school under the office of skeo primry eductionl service re 2= bFctors influencing the effectiveness cdemic dministrtion in secondry eductionl extention school under the office of skeo primry eductionl service re 2
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุเมธ งามกนก
สมพงษ์ ปั้นหุ่น
วรพล เจริญวัย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา -- สระแก้ว
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
วิชาการ -- การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัจจัยและประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย กับประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการ และเพื่อสร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 จำนวน 234 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.23 ถึง 0.80 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ระดับประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. ปัจจัยทำนายที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการ มีค่าอยู่ระหว่าง 0.55 ถึง 0.73 โดยปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านครูผู้สอน ปัจจัยด้านผู้เรียน มีความสัมพันธ์กันในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. สมการณ์พยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการ ได้แก่ ปัจจัย ด้านพฤติกรรมด้านการเรียน (X8) ด้านความเป็นผู้นำทางวิชาการ (X1) ด้านเจตคติต่อการเรียน (X9) ด้านพฤติกรรมการบริหารด้านการเป็นผู้นำ (X2) โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 63.10 อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 ได้สมการถดถอยในรูปแบบคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ Y^ = 1.17 + .20 (X8) + 25 (X1) + 12 (X9) + 13 (X2) Z^ = .30 (Z2) + .26 (Z1) + 16 (Z9) + 17 (Z2)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7658
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.6 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น