กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7624
ชื่อเรื่อง: การสร้างชุดการเรียนบูรณาการอาเซียนหน่วยการเรียนรู้เรื่อง เครื่องมือและปรากฎการณ์ทางภูมิศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The construction of lerning pckge for integrted sen on “tools nd geogrphic phenomen” for mtyomsuks five students by using constructionism theory
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปริญญา ทองสอน
สมศิริ สิงห์ลพ
ภารวี สื่อประเสริฐสิทธิ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การสอนด้วยสื่อ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
สังคมศึกษา -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศีกษา)
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างชุดการเรียน บูรณาการอาเซียน หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง เครื่องมือและปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ด้วยปัญญาให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/ 80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนต่อวิชาสังคมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 39 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดการเรียน บูรณาการอาเซียน หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง เครื่องมือและปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดเจตคติต่อวิชาสังคมศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดการเรียนบูรณาการอาเซียน หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง เครื่องมือและปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน (E1/ E2) เท่ากับ 85.60/ 81.15 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการเรียนรู้ หลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3.เจตคติของนักเรียนต่อวิชาสังคมศึกษาหลังเรียนด้วยชุดการเรียนรู้ มีเจตคติในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7624
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.57 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น