กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7529
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorบุญเลิศ ยองเพ็ชร
dc.contributor.advisorสกุล อ้นมา
dc.contributor.authorกรฤทธิ์ ปัญจสุนทร
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T04:02:45Z
dc.date.available2023-05-12T04:02:45Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7529
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องกรรมและการแก้กรรมในพระพุทธปรัชญาเถรวาท และ 2. เพื่อวิพากษ์แนวคิดเรื่องการแก้กรรมในสังคมไทยการวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสืบค้นข้อมูลจากคัมภีร์สำคัญทางพุทธปรัชญา ได้แก่ พระไตรปิฎกคัมภีร์อรรถกถา รวมถึงหนังสือวารสาร บทความ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า คำว่า “กรรม” ในพุทธปรัชญา หมายถึง การกระทำที่เกิดจากเจตนา แล้วแสดงออกทางกายหรือทางวาจาจะเป็นการกระทำที่ดีหรือชั่วก็ได้เป็นเหตุให้เราจึงต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏตราบเท่าที่ยังไม่ “สิ้นกรรม” หรือ “ดับกรรม” ด้วยการปฏิบัติตามหลักอริยมรรคมีองค์ 8 จนสิ้นกิเลส แต่ความเข้าใจเรื่องกรรมของคนไทยนั้นมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนไปจากหลักคำสอนเรื่องกรรมในพุทธปรัชญาโดยมองว่า “กรรม” น้ันเป็นผลของการกระทำที่ไม่ดีของเราในอดีตชาติที่ส่งผลให้ชีวิตในปัจจุบันต้องประสบกับทุกข์เหตุเภทภัยต่าง ๆ ด้วยทัศนะคติ เช่นนี้ทำให้เกิดความคิดที่ว่า “เราเกิดมาเพื่อใช้กรรม” จึงพยายามหาวิธีแก้ผลของกรรมชั่ว เช่น การทำบุญด้วยการบริจาคทานการร่วมงานบุญเข้าวัดถือศีลปฏิบัติธรรมบูชาเทพเจ้าองค์ต่าง สวดมนต์คาถาแล้วอุทิศให้แก่เจ้ากรรมนายเป็ นต้น หากพิจารณารูปแบบวิธีการแก้กรรมในสังคมไทยตามกรอบของมรรคองค์มีองค์ 8 การที่ผู้ร่วมพิธีแก้กรรมมีทิฏฐิเกี่ยวกับความทุกข์ที่เกิดขึ้นในชีวิตว่ามาจากกรรมเก่าหรือเจ้ากรรมนายเวร ซึ่งเป็น “ผี” จึงเกิดความเชื่อที่ว่า “คนเราเกิดมาเพื่อใช้กรรม”ไม่สามารถหนีผลจากกรรมได้จึงทำให้เกิดความคิดที่ว่าไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตนเองได้จึงต้องแก้ด้วยการรับคำแนะนำ จากผู้ทำพิธีแก้กรรม รวมถึงเกิดความคิดที่ว่าการขัดเกลากิเลสของตนเองจนถึงขั้นบรรลุธรรมเป็นอริยบุคคล หรือนิพพานนั้นเกินความสามารถของตนเอง มุ่งหวังเพียงให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในปัจจุบันและเมื่อเกิดชาติต่อไป การให้ทาน ถือศีลและการปฏิบัติธรรม จึงเป็นไปเพื่อเพิ่มบุญไม่ใช่การขัดเกลากิเลสอย่างที่ควรจะเป็น รวมทั้งการบูชาเทพเจ้าองค์ต่าง ๆ สวดมนต์ คาถา ยังเป็นวิธีการที่ไม่มีสอนในพุทธปรัชญา การแก้กรรมจึงเป็นอาชีพที่ขัดต่อหลักการทางพุทธปรัชญา เพราะทำให้ผู้ร่วมพิธีเกิดความหลงความหมกมุ่น และความงมงาย ไม่เป็นอันปฏิบัติกิจหน้าที่อันควร หรือกระทำสิ่งใดที่สอดคล้องกับหลักของเหตุผลเป็นเหตุให้หลักธรรมคำสอนเสื่อมลง
dc.language.isoth
dc.publisherคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectพุทธศาสนาเถรวาท
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาปรัชญา
dc.subjectพุทธปรัชญา
dc.titleการแก้กรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท
dc.title.alternativeKmm rectifiction in thervd buddhist philosophy
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were 1. to analyze concept of Kamma and its rectification in Theravada Buddhist philosophy, and 2. to criticize Kamma rectification in Thai society. This research was a qualitative research conducting by way of inquiring into the concept of Kamma and its rectification from data collected from the important Buddhist scriptures such as Tipitaka, Atthakatha, as well as books, journals, articles and the related researches. The results of this study revealed that the word ‘Kamma’ in Buddhist philosophy means intentional action which is expressed mentally, bodily or verbally, whether it is good or bad which causes one’s rebirth in endless circle called Samsara as long as one’s Kamma has not been set to an end by following the Noble Eightfold Path. Moreover, it was found that the doctrine of Kamma in Buddhist philosophy has been misunderstood among the Thais, because it was seen as the result of one’s bad action in the previous life which influenced on one’s present life by causing various suffering and catastrophe. Because of this belief, Thai people thought that we are born to pay our previous Kamma, so they tried to rectify their bad Kamma by making merits with donation, joining the religious ceremonies, practicing Dhamma, worshiping any gods and goddesses, chanting and dedicating their merits to the deceased ones. If we consider the forms of Kamma rectification in Thai society through the framework of the Noble Eightfold Path, then we found that the participants in the Kamma rectification ceremony thought that their sufferings came from their previous Kamma, or from the deceased ones who were the spirits. So they believed that they were born to pay their previous Kamma, they could not escape the result of their previous Kamma. Thus, they believed that they could not rectify their previous Kamma by themselves, their previous Kamma must be rectified under the guidance of the officiants. Moreover, they thought that purifying their mind until attaining Nibbana exceeded their capacity. They merely hoped for a better life in the present and the next life. Donation, observing the precepts and practicing Dhamma were going to increase their merit, not to purify their mind. Worshiping various gods and goddesses and chanting mantras were originally not found in Buddhist philosophy. Therefore, the Kamma rectificational career in Thai society was contradictory to the Buddhist principles, for it caused infatuation, obsession and ignorance to the attendees who could not perform their duties properly, or who could not do any actions in accordance with reason. All these would cause the deterioration of Buddhist teachings.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineปรัชญา
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น