กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7528
ชื่อเรื่อง: วาทกรรมนโยบายการจัดการศึกษาของรัฐไทยที่มีต่อชาวมลายูมุสลิมในมณฑลปัตตานี พ.ศ. 2435-พ.ศ. 2510
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Policy discourse in eductionl dministrtion to muslims communities in monthon pttni c.e.1892- c.e.1967
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปรีดี พิศภูมิวิถี
อลงกรณ์ หมวดยอด
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: มุสลิม -- ไทย -- ปัตตานี
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาไทยศึกษา
นโยบายการศึกษา -- ไทย (ภาคใต้)?yรัชกาลที่ 5
พ.ศ. 2411-2453
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ศึกษาการจัดการศึกษาของรัฐไทยในมณฑลปัตตานีตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411-พ.ศ. 2453) ถึง พ.ศ. 2510 โดย ในปีพ.ศ. 2435 เป็นปีที่รัฐไทยปฏิรูปการปกครองโดยจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลเพื่อรับคำสั่งนโยบายโดยตรงจากกรุงเทพ โดยหลงจากนั้นมีการวางนโยบายจดการการศึกษาในมณฑลปัตตานี โดยศึกษาวาทกรรมีนโยบายการศึกษาของรัฐไทยที่มีต่อชาวมลายูในมณฑลปัตตานี จากการวิเคราะห์โดยการประยุกต์ใช้แนวคิดวาทกรรม คือการเกิดขึ้นของนโยบายต่าง ๆ ด้านการศึกษาที่รัฐไทยส่งไปตั้งแต่รัชกาลที่ 5 เป็นชุดคำสั่งที่ส่งผลทางความคิดและการปฏิบัติ เพื่อให้คนในพื้นที่ยอมรับและปฏิบัติตาม โดยเฉพาะชาวมลายูมุสลิมที่เป็นคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ก็มีทั้งยอมรับต่อต้านในนโยบายที่รัฐไทยพยายามดำเนินการในพื้นที่นอกจากนี้พบว่า รัฐบาลไทยในแต่ละชุดมีวิธีการทำงานที่แตกต่างกันบางช่วงใช้การบังคับ ทำให้เกิดการต่อสู้ทางความคิดมากมายวาทกรรมทางศึกษาของรัฐไทยก็โดนต่อต้านในบางช่วงเวลากเป็นไปตามแนวคิดที่มิเชล ฟูโกต์ที่ว่าอำนาจและวาทกรรมการต่อสู้ตลอดเวลา ไม่มีอำนาจใดที่ถาวร จากการวิเคราะห์สรุปว่า ผลกระทบของวาทกรรมทางการศึกษาที่รัฐไทยส่งลงไปทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชาวมลายูมุสลิมเป็นอย่างมาก และส่งผลให้เกิดการต่อต้านจากคนในพื้นที่โดยเฉพาะกลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดนชาวมลายูมุสลิมหลายขบวนการในพื้นที่
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7528
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.54 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น