กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7506
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในอย่างยั่งยืนโดยบูรณาการกับงานปกติสำหรับสถาบันการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรีของสถาบันวิชาการป้องกันประเทศกองบัญชาการกองทัพไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of sustinble internl qulity ssurnce system integrted with regulr work for undergrdute Institution of Ntionl Defence Studies Institute, Royl Thi Armed Forces Hedqurters
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พงศ์เทพ จิระโร
เสกสรรค์ ทองคำบรรจง
โชติ จันทร์วัง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การศึกษา -- มาตรฐาน
ทหาร -- การศึกษาและการสอน
ประกันคุณภาพการศึกษา
การศึกษาวิชาการทหาร
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในอย่างยั่งยืน โดยบูรณาการกับงานปกติ สำหรับสถาบันการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรีของสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย โดยมีจุดประสงค์เฉพาะดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพ การประกันคุณภาพภายในและวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานประกันคุณภาพภายใน 2) พัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในอย่างยั่งยืนโดยบูรณาการกับงานปกติ 3) ทดลองใช้และประเมินประสิทธิผลของระบบการประกันคุณภาพภายในอย่างยั่งยืนโดยบูรณาการกับ งานปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรในสถาบันการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี สังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย แบ่งเป็นผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 402 คน และผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานประกันคุณภาพภายในและแนวทางในการประกันคุณภาพภายในอย่างยั่งยืนโดยบูรณาการกับงานปกติ มีลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียวและวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานประกันคุณภาพภายในมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านระบบประกันคุณภาพภายใน รองลงมาคือปัจจัยด้านบริบทองค์กร การปฏิบัติงาน ประกันคุณภาพภายในได้รับอิทธิพลจากปัจจัยด้านบริบทองค์กร และปัจจัยด้านระบบประกันคุณภาพภายใน มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.45 และ 0.20 ตามลำดับ ปัจจัยด้านระบบประกันคุณภาพภายในได้รับอิทธิพลทางตรงจากปัจจัยด้านบริบทองค์กรและปัจจัยด้านบุคลากร มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.30 และ 0.43 ตามลำดับ ปัจจัยด้านระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศได้รับอิทธิพลทางตรงจากปัจจัยด้านบริบทองค์กรและปัจจัยด้านผู้บริหาร มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.52 และ 0.36 ตามลำดับ มาตรฐาน ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายใน สำหรับสถาบันการศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 4 มาตรฐาน 25 ตัวบ่งชี้ มาตรฐานและตัวบ่งชี้สำหรับการประเมินคุณภาพภายใน สำหรับสถาบันการศึกษาระดับการศึกษาอาชีวศึกษาประกอบด้วย 4 มาตรฐาน 15 ตัวบ่งชี้ แนวทางในการประกันคุณภาพภายในอย่างยั่งยืนโดยบูรณาการกับงานปกติ พบว่า การพัฒนาความรู้ ความเข้าใจในการประกันคุณภาพให้กับบุคลากรมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา เป็นด้านผู้นำตระหนักถึงคุณค่าในงานประกันคุณภาพการศึกษาและมีความสามารถในการบริหารองค์กร ผลการประเมินประสิทธิผลของระบบในแต่ละด้าน ด้านละ 66 ข้อ พบว่า ด้านประโยชน์ มีผลประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 64 ข้อ ด้านความเป็นไปได้มีผลประเมินอยู่ในระดับ มากที่สุด จำนวน 22 ข้อ ด้านความเหมาะสม พบว่า ผลประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 34 ข้อ และด้านความถูกต้อง มีผลประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 54 ข้อ นอกจากนั้น ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7506
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf9.28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น