กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7504
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพโครงงานวิทยาศาสตร์โดยกระบวนการวิจัยแบบร่วมมือรวมพลัง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Instructionl model for improving qulity of scientific project work through collbortive ction reserch
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมพงษ์ ปั้นหุ่น
สมโภชน์ อเนกสุข
ชมนาด พรมมิจิตร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การสอนแบบโครงงาน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพโครงงาน วิทยาศาสตร์ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2) เพื่อพัฒนาโมเดล ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพโครงงานวิทยาศาสตร์ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนจากโมเดลความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพโครงงานวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย 1) นักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 ที่ผ่านการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต และวิชาวิทยาศาสตร์ตามสาขาวิชาที่เรียน สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 829 คน 2) ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 26 คน 3) ผู้ปกครองนักเรียนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 829 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองและประยุกต์ใช้จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมีค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง 0.725-0.851 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน วิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพโครงงานวิทยาศาสตร์ของ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพโครงงานวิทยาศาสตร์ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พบว่า ตัวแปรบทบาทของผู้ปกครอง ตัวแปร บรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้พบว่า ตัวแปรทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ตัวแปรทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แปรผลสัมฤทธิ์วิชาวิทยาศาสตร์ ตัวแปรผลสัมฤทธิ์วิชาวิทยาศาสตร์ ตัวแปรจิตวิทยาศาสตร์ ตัวแปรจิตวิทยาศาสตร์ ตัวแปรแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ตัวแปรบทบาท ครูที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์ และตัวแปรคุณภาพโครงงานวิทยาศาสตร์ พบว่า ทุกตัวแปร โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2. ผลการตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพ โครงงานวิทยาศาสตร์ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากับข้อมูล เชิงประจักษ์พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งพิจารณาได้จากค่าไค-สแควร์ มีค่าเท่ากับ 1482.37; p มีค่าเท่ากับ .000 ที่องศาอิสระเท่ากับ 744 ค่า 2/ df = 1.992 ค่า CFI มีค่าเท่ากับ .98 ค่า GFI มีค่าเท่ากับ .92 ค่า AGFI มีค่าเท่ากับ .91 และค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ย ของความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่า (RMSEA) มีค่าเท่ากับ 0.035 ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ ตัวแปรตาม คือ คุณภาพโครงงานวิทยาศาสตร์ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา มีค่าเท่ากับ 0.520 แสดงว่า ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของ ตัวแปรคุณภาพโครงงานวิทยาศาสตร์ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้ร้อยละ 52.00 3. ผลการพัฒนารูปแบบการสอนจากโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อ คุณภาพโครงงานวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นแสวงหาความร่วมมือ 2) ขั้นวิเคราะห์สภาพปัญหาคุณภาพโครงงานวิทยาศาสตร์ 3) ขั้นกำหนดแผนงาน 4) ขั้นปฏิบัติ ตามแผน 5) ขั้นกำกับ ติดตาม ดูแลการปฏิบัติ 6) ขั้นสำรวจข้อบกพร่องจากการปฏิบัติที่ผ่านมา 7) ขั้นทบทวนจุดมุ่งหมายใหม่ ผลการใช้รูปแบบ พบว่า คุณภาพโครงงานวิทยาศาสตร์ทุกโครงงาน ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความคิดสร้างสรรค์ ด้านเนื้อหาโครงงาน ด้านกระบวนการทำงาน ด้านการนำเสนอผลงาน
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7504
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf5.6 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น