กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7492
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับเสริมสร้างศักยภาพทางการแข่งขันของโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาในเขตภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Strtegic dministrtion model for enhncing potentils of secondry privte schools competition in Est Region
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมพงษ์ ปั้นหุ่น
สุเมธ งามกนก
สลิลรัตน์ พลอยประดับ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
การวางแผนการศึกษา
การวางแผนเชิงกลยุทธ์ -- ญี่ปุ่น
โรงเรียนเอกชน -- การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันศักยภาพทางการแข่งขันของโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาในเขตภาคตะวันออก 2) เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับเสริมสร้างศักยภาพทางการแข่งขันของโรงเรียนเอกชน ระดับมัธยมศึกษาในเขตภาคตะวันออก และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับ เสริมสร้างศักยภาพทางการแข่งขันของโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาในเขตภาคตะวันออก ขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย 1) ศึกษารูปแบบการบริหารโรงเรียนใช้วิธีการสัมภาษณ์ 2) พัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ โดยใช้แบบสอบถามครูผู้สอนโรงเรียนเอกชนและวิเคราะห์โมเดล สมการโครงสร้าง ด้วยโปรแกรม LISREL 3) สร้าง และประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับเสริมสร้างศักยภาพทางการแข่งขันของโรงเรียนเอกชน ระดับมัธยมศึกษาในเขตภาคตะวันออก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยพบว่า 1. ศักยภาพทางการแข่งขันของโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาในเขตภาคตะวันออก พบว่า โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัย ที่ทีอิทธิพลต่อการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับเสริมสร้างศักยภาพทางการแข่งขันของโรงเรียนเอกชน ระดับมัธยมศึกษาในเขตภาคตะวันออก มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมี Chi-square = 632.22,ค่า p =0.00, ค่า df =305, ค่า  2 /df= 2.07, ค่า NFI = 0.98, ค่า GFI = 0.95, ค่า AGFI= 0.90, ค่า RMSEA = 0.04, ค่า RMR = 0.01 ปัจจัยที่มีอิทธิพลรวมสูงสุดต่อศักยภาพทางการแข่งขัน ของโรงเรียน คือ ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (CL) และปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงสูงสุด คือ ปัจจัยแรงจูงใจในงาน (MW)โมเดลที่พัฒนาแล้วมีอิทธิพลต่อศักยภาพทางการแข่งขันของโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาในเขตภาคตะวันออก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สามารถอธิบาย ความแปรปรวนของการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับเสริมสร้างศักยภาพทางการแข่งขันได้ร้อยละ 95 3. รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับเสริมสร้างศักยภาพทางการแข่งขันของโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาในเขตภาคตะวันออก มี 4 กลยุทธ์ 8 องค์ประกอบ คือ กลยุทธ์ที่ 1 การนำองค์กร มี 2 องค์ประกอบ คือ 1) ภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง 2) การวางแผนยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ที่ 2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์มี 2 องค์ประกอบ คือ 1) แรงจูงใจในงาน กลยุทธ์ที่ 3 การจัดการความรู้ มี 2 องค์ประกอบ คือ 1) องค์การแห่งการเรียนรู้กลยุทธ์ที่ 4 องค์กรคุณภาพ มี 2 องค์ประกอบ คือ 1) คุณภาพวิชาการ 2) โรงเรียนมาจรฐานสากล โดยภาพรวมของการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับเสริมสร้างศักยภาพทางการแข่งขันของโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาในเขตภาคตะวันออก มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7492
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.77 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น