กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7490
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาแบบวัดความฉลาดทางสังคมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนกีฬา : การทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของการวัดตามตัวแปรเพศ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of socil intelligence scle for the lower secondry students in sport school :bvlidting nd testing mesurement invrince cross gender
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์
สมพงษ์ ปั้นหุ่น
สาคร เพ็ชรสีม่วง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การวัดผลทางการศึกษา
การศึกษา -- แบบทดสอบ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความฉลาดทางสังคมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนกีฬา 2) เพื่อศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดลความฉลาดทางสังคมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนกีฬา จำแนกตามเพศ และ 3) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติและคู่มือการใช้แบบวัดความฉลาดทางสังคม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนกีฬา ปีการศึกษา 2560 สังกัดสถาบันการพลศึกษา จำนวน 1,022 คน แบ่งเป็นเพศชาย 582 คน เพศหญิง 440 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความฉลาดทางสังคม ตรวจสอบคุณภาพด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง ความเที่ยงตรงเชิงสภาพ อำนาจจำแนก ความเชื่อมั่น และทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย การทดสอบที สหสัมพันธ์ และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์คุณภาพของแบบวัดความฉลาดทางสังคมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนกีฬา พบว่า แบบวัดความฉลาดทางสังคมจำนวน 80 ข้อ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) ตั้งแต่ 0.60-1.00 ค่าอำนาจจำแนก (t) อยู่ระหว่าง 2.13-10.30 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05-1.00 และ .01 และคำถามทุกข้อมีค่าสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนของข้อคำถามแต่ละข้อ กับคะแนนรวมของข้อที่เหลือ (CITC) ระหว่าง 0.22-0.64 มีค่าความเชื่อมั่น ( ) รายองค์ประกอบระหว่าง 0.85-0.92 ค่าความเที่ยงตรงตามโครงสร้างคำนวณจากกลุ่มที่รู้ชัดอยู่แล้ว (Known-group technique) และค่าความเที่ยงตรงเชิงสภาพ ( ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากนั้นผู้วิจัยได้คัดเลือกข้อคำถามโดยพิจารณาข้อคำถามที่มีค่าสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนของข้อคำถามแต่ละข้อกับคะแนนรวมของข้อที่เหลือ (CITC) มากกว่า 0.20 และในแต่ละองค์ประกอบต้องมีจำนวนข้อคำถามตั้งแต่ 3 ข้อขึ้นไปซึ่งมีความครอบคลุมนิยามปฏิบัติการความฉลาดทางสังคมในแต่ละองค์ประกอบตามที่ผู้วิจัยได้สังเคราะห์ขึ้นมา จัดเป็นแบบวัดฉบับเต็มจำนวน 50 ข้อ และแบบวัดฉบับสั้นจำนวน 30 ข้อ โดยแบบวัดฉบับเต็มมีค่าอำนาจจำแนก (t) ระหว่าง 9.31-20.12 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และคำถามทุกข้อมีค่าสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนของข้อคำถามแต่ละข้อกับคะแนนรวมของข้อที่เหลือ (CITC) มากกว่า 0.20 มีค่าระหว่าง 0.30-0.58 มีค่าความเชื่อมั่น ( ) รายองค์ประกอบระหว่าง 0.80-0.57 ฉบับสั้นมีค่าอำนาจจำแนก (t) ระหว่าง 10.71-19.78 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และคำถามทุกข้อมีค่าสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนของข้อคำถามแต่ละข้อกับคะแนนรวมของข้อที่เหลือ (CITC) มากกว่า 0.20 มีค่าระหว่าง 0.34-0.55 มีค่าความเชื่อมั่น ( ) รายองค์ประกอบระหว่าง 0.76-0.80 2. การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดความฉลาดทางสังคม ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลความฉลาดทางสังคมของแบบวัดทั้งฉบับเต็มและฉบับสั้นประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 การตระหนักรู้ทางสังคม ได้แก่ ความเห็นอกเห็นใจ รู้สถานการณ์ การปรับตัวทางสังคม องค์ประกอบที่ 2 ทักษะทางสังคม ได้แก่ การตระหนักรู้ตนเอง การแสดงออก การแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม การเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ องค์ประกอบที่ 3 การประมวลข้อมูลข่าวสารทางสังคม ได้แก่ การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การตัดสินใจในการปฏิบัติตนต่อผู้อื่น มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( = 13.94, 9.22; df = 11, 6; P = 0.24, 0.16; GFI = 1.00; AGFI = 0.99, 0.98; RMSEA = 0.02; RMR = 0.01 ตามลำดับ) แบบวัดความฉลาดทางสังคมฉบับเต็มมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานระหว่าง 0.90-1.04 เมื่อพิจารณาแต่ละองค์ประกอบย่อย ๆ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานระหว่าง 0.33-0.79 ส่วนแบบวัดความฉลาดทางสังคมฉบับสั้นมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานระหว่าง 0.88-1.00 เมื่อพิจารณาแต่ละองค์ประกอบย่อย ๆ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานระหว่าง 0.37-0.79 โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกองค์ประกอบ 3. ผลการทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดลการวัดความฉลาดทางสังคมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนกีฬา จำแนกตามเพศ พบว่า แบบวัดความฉลาด ทางสังคมทั้งฉบับเต็มและฉบับสั้น รูปแบบมีความไม่แปรเปลี่ยนระหว่างกลุ่มนักเรียนชายและ กลุ่มนักเรียนหญิง 4. เกณฑ์ปกติ (Norm) ของแบบวัดความฉลาดทางสังคมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนกีฬาฉบับเต็มมีคะแนนดิบอยู่ระหว่าง 92-250 คะแนนทีปกติ อยู่ระหว่าง T18-T81 และแบบวัดฉบับสั้นมีคะแนนดิบอยู่ระหว่าง 52-150 คะแนนทีปกติ อยู่ระหว่าง T18-T79 หมายความว่า แบบวัดทั้งฉบับเต็มและฉบับสั้นมีความฉลาดทางสังคมอยู่ในระดับน้อยมาก ถึง สูงมาก
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7490
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.24 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น