กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7472
ชื่อเรื่อง: การพัฒนามาตรวัดความสุขในการเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A scle development of hppiness in lerning of voctionl students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุรีพร อนุศาสนนันท์
ไพรัตน์ วงษ์นาม
นิศากร เจริญดี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ความสุข
นักเรียนอาชีวศึกษา -- ทัศนคติ
การเรียน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
เครื่องชี้ภาวะความสุข
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโมเดลการวัดความสุขในการเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษา 2) ตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดความสุขในการเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษา 3) สร้างเกณฑ์ปกติวิสัยระดับชาติของมาตรวัดความสุขในการเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษาและประเมินความสุขในการเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษา และ 4) พัฒนาคู่มือการใช้มาตรวัดความสุข ในการเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษา การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เรื่องความสุขในการเรียนในบริบทของนักเรียนอาชีวศึกษา โดยใช้การสัมภาษณ์รายบุคคลนักเรียนที่ศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จำนวน 80 คน สังกัดอาชีวศึกษานครปฐม ทำการสังเคราะห์เพื่อหาตัวแปรความสุขในการเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษา และระยะที่ 2 เป็นการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดที่พัฒนาขึ้น พัฒนาเกณฑ์ปกติวิสัยระดับชาติ และประเมินความสุขในการเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 4,443 คน ที่ได้ จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจาก 6 ภูมิภาคทั่วประเทศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows และ LISREL ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลมาตรวัดความสุขในการเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษาประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก 12 องค์ประกอบย่อย โดยผู้วิจัยสร้างมาตรวัดฉบับย่อย 12 ฉบับ ฉบับละ 17 ข้อ รวมทั้งสิ้น 204 ข้อ ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ จำนวน 164 ข้อ คือ องค์ประกอบที่ 1 ด้านการมีอิสระในการตัดสินใจและพึ่งตนเองเกี่ยวกับการเรียน มี 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 ความเป็นอิสระใน การตัดสินใจในเรื่องการเรียน มี 14 ข้อ และฉบับที่ 2 การแสดงความสามารถและพึ่งตนเอง มี 16 ข้อ องค์ประกอบที่ 2 ด้านการจัดการสภาพแวดล้อมในการเรียนมี2 องค์ประกอบย่อย คือ ฉบับที่ 3 ความสามารถปรับตัวกับบรรยากาศในการเรียน มี 15 ข้อ และฉบับที่ 4 ความสามารถปรับตัว กับสภาพแวดล้อมรอบตัว มี 17 ข้อ องค์ประกอบที่ 3 ด้านความเจริญก้าวหน้าและความงอกงาม ในตนเอง มี 2 องค์ประกอบย่อย คือ ฉบับที่ 5 การตั้งใจเรียน ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มี 15 ข้อ และฉบับที่ 6 การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มี 10 ข้อองค์ประกอบที่ 4 ด้านความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น มี 2 องค์ประกอบย่อย คือ ฉบับที่ 7 ความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน มี 11 ข้อ และฉบับที่ 8 ความสัมพันธ์ ที่ดีกับครู มี 14 ข้อองค์ประกอบที่ 5 ด้านการมีเป้าหมายชีวิต มี 2 องค์ประกอบย่อย คือฉบับที่ 9 การเห็นคุณค่าและความหมายในการเรียน มี 11 ข้อ และฉบับที่ 10 การมีเป้าหมายในชีวิต มี 12 ข้อ และองค์ประกอบที่ 6 ด้านการยอมรับตนเอง มี 2 องค์ประกอบย่อย คือ ฉบับที่ 11 การเห็นคุณค่าของตนเอง มี 13 ข้อ และฉบับที่ 12 ความพึงพอใจในตนเอง มี 16 ข้อ 2) ผลการตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดความสุขในการเรียน พบว่า (1) มาตรวัดความสุขในการเรียน ทั้ง 12 ฉบับ มีค่า IOC อยู่ระหว่าง .57-1.00 (2) ผลการตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดตามทฤษฎี CTT ด้วยการวิเคราะห์หาค่าอำนาจำแนกรายข้อ มีค่าอยู่ระหว่าง 0.202 ถึง 0.503 และค่าความเที่ยงรายฉบับมีค่าอยู่ระหว่าง 0.824 ถึง 0.92 ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก 200 ข้อ จาก ข้อคำถามทั้งหมด 204 ข้อ (3) ผลการตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดตามทฤษฎี IRT ด้วยโมเดล GRM วิเคราะห์หาค่าอำนาจำแนก และค่า Threshold พบว่า มาตรวัดทั้ง 12 ฉบับ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 1.00 ถึง 4.23 และค่าพารามิเตอร์ Threshold ระหว่าง -1.28 ถึง 1.31 (4) ผลการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อคำถามระหว่างเพศ (ชาย,หญิง) พบว่า มีจำนวน 36 ข้อ จากข้อคำถามทั้งหมด 200 ข้อ ที่ทำหน้าที่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (5) ผลการตรวจสอบ ความตรงเชิงโครงสร้างจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสาม พบว่า โมเดลการวัดมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในภาพรวม ( = 38.21; df = 25; p = .044; CFI = 1.00; GFI = 1.00 AGFI = .99; RMSEA = 0.019; = 1.528) และ (6) ผลการหาค่าสัมประสิทธิ์ สรุปอ้างอิง (G-Coefficient) เท่ากับ 0.99 มาตรวัดฉบับที่ 1-12 ค่าสัมประสิทธิ์สรุปอ้างอิง (G-Coefficient) อยู่ระหว่าง 0.935 ถึง 0.960 3) ผลการสร้างเกณฑ์ปกติวิสัยระดับชาติของมาตรวัดความสุขในการเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษาพบว่า มาตรวัดดังกล่าวมีคะแนนทีปกติอยู่ในช่วง T16 ถึง T85 และการวิเคราะห์ความสุขในการเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษา พบว่า นักเรียนอาชีวศึกษามีความสุขในการเรียน อยู่ในระดับ มากมีค่าเฉลี่ย 2.54 4) ผลจากการจัดทำคู่มือมาตรวัดความสุขในการเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษา พบว่า คู่มือมาตรวัดประกอบด้วย กรอบแนวคิด นิยามและขอบเขตคำแนะนำในการใช้มาตรวัด ข้อคำถามและแนวทางการตอบ การคิดคะแนน การแปลผลคะแนน และค่าเกณฑ์ปกติ ซึ่งมาตรวัดมี ความเหมาะสมกับบริบทของนักเรียนอาชีวศึกษา สามารถนำโมเดลที่ได้ไปใช้เป็นแนวทาง ในการพัฒนาความสุขของนักเรียนในขณะที่เรียนได้
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7472
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf12.32 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น