กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7402
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorศรีวรรณ ยอดนิล
dc.contributor.advisorดุสิต ขาวเหลือง
dc.contributor.authorอัจฉรา ภักดีพินิจ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:55:17Z
dc.date.available2023-05-12T03:55:17Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7402
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อป้องกันภาวะอ้วนในนักเรียนระดับประถมศึกษา ดำเนินการวิจัย 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยการใช้แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของชุมชน กลุ่มตัวอย่างมาจาก 5 ภาคส่วนของชุมชนเขตเทศบาลเมืองเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ โรงเรียน ชุมชน โรงพยาบาล เทศบาล และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 476 คน และสัมภาษณ์ความพร้อมของชุมชนในการป้องกันภาวะอ้วน ด้วยแบบสัมภาษณ์ที่แปลและปรับปรุงจาก Community readiness interview questions โดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลจากแต่ละภาคส่วนแบบเจาะจง จำนวน 12 คน และระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการมี ส่วนร่วมของชุมชน ดำเนินการตามขั้นตอนของ ADDIE Model วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง ค่าคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 2.50 พบอุปสรรคในการดำเนินงาน คือ สมาชิกชุมชนขาดความรู้ และความตระหนักต่อปัญหาภาวะอ้วนในเด็ก ผลการประเมินความพร้อมของชุมชน พบว่า ระดับความพร้อมของชุมชนอยู่ในระยะไม่ตระหนัก มีค่าคะแนน เท่ากับ 1.62 หมายถึง สมาชิกและผู้นำชุมชนไม่ตระหนักว่าภาวะอ้วนในเด็กเป็นประเด็นปัญหาของชุมชน และการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันภาวะอ้วนในเด็ก มี 5 ขั้นตอนหลัก คือ 1) การศึกษาสภาพชุมชน 2) การวางแผน 3) การดำเนินกิจกรรม 4) การประเมินผล และ 5) การสรุปผลและดำเนินการต่อเนื่อง ผลการใช้รูปแบบ พบว่า การมีส่วนร่วมของชุมชนหลังใช้รูปแบบ สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และภาวะอ้วนของนักเรียนหลังใช้รูปแบบ ลดลงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะในการนำรูปแบบไปใช้ คือ 1) ควรสร้างความตระหนักแก่ผู้นำชุมชนเพื่อให้การสนับสนุนและนำไปกำหนดนโยบาย 2) ควรมีผู้ประสานงานหลักที่มีภาวะผู้นำสำหรับติดตาม และประสานการดำเนินงานของแต่ละภาคส่วน 3) ควรเน้นการป้องกันภาวะอ้วนแก่เด็กทุกคน และ 4) ควรพัฒนาสมรรถนะในการประเมินความพร้อมของชุมชน แก่บุคลากรสาธารณสุข ครู และแกนนำชุมชน
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม
dc.subjectนักเรียนประถมศึกษา -- สุขภาพและอนามัย
dc.subjectโรคอ้วนในเด็ก -- การป้องกัน -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
dc.subjectโรคอ้วนในเด็ก -- การป้องกัน
dc.titleรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อป้องกันภาวะอ้วนในนักเรียนระดับประถมศึกษา
dc.title.alternativeCommunity prticiption model for childhood overweight prevention mong elementry school children
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to develop a community participation model for childhood overweight prevention among elementary school children. This study consisted of 2 steps: step1. The first step was to study the community participation evaluating the level of its engagement. The data was collected from 476 participants who were community leaders, parents, healthcare, school, and municipality in Sena municipality Ayuttaya province. Additionally, twelve key informants were identified and interviewed using a semi-structured method. The interview questions were translated and adapted from the Community Readiness interview questions to assess community readiness. The second step was to develop the community participation model based on the ADDIE process. The data was analyzed by percentage, Mean, Standard Deviation, t-test, and content analysis. The research results revealed that while the level of community participation was at a medium level (2.50), community members have less knowledge and no awareness on childhood overweight issue. Additionally, the result of community readiness assessment reports the overall community readiness score at 1.62 which was equal to the first stage of readiness (no awareness). The community participation model was analyzed through 5 stages as follows: 1) community context analyzing, 2) community participation planning, 3) plan implementing, 4) plan evaluating, and 5) evaluation data summarizing and continue actions. After implementation, the level of community participation was significantly higher than before implementation at p-value .05 and the result of obesity evaluation among elementary school children was significantly lower than previous implementation at p-value .05 In conclusion, the study suggested that we should 1) raise awareness of community leaders who will be supporters for policy implementation, 2) have a coordinator who can regulate and coordinate the operations of each sector, 3) prevent obesity in children, and 4) develop a capacity to assess community readiness in health providers, teachers and community leaders.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineการศึกษาและการพัฒนาสังคม
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.64 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น