กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7396
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorชัยพจน์ รักงาม
dc.contributor.advisorสฎายุ ธีระวณิชตระกูล
dc.contributor.authorวราภรณ์ ลวงสวาส
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:55:16Z
dc.date.available2023-05-12T03:55:16Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7396
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแต่ละด้านกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 3) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 จากปัจจัยแต่ละด้านของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 317 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัย มีอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .49-.95 และค่า ความเชื่อมั่น .93 และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป หาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณและสร้างสมการถดถอยเพื่อพยากรณ์ตัวแปรตามโดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 โดยรวมและรายข้อพบว่า อยู่ในระดับ มาก 2. ปัจจัยแต่ละด้านมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกตัว 3. ปัจจัยที่เป็นตัวพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน มี 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านผู้บริหาร (X1) ปัจจัยด้านผู้เรียน (X2) ปัจจัยด้านครู (X3) และปัจจัยด้านผู้ปกครอง (X4) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ ร้อยละ 69.40 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีอำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 48.10 โดยสามารถสร้างเป็นสมการพยากรณ์ในรูปของคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ Y = (-6.389) + 4.538(X1) + 2.888(X3) + 3.367(X2) + 2.262(X4) Z = 0.329(X1) + 0.166(X3) + 0.224(X2) + 0.195(X4)
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการศึกษา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subjectการเรียน
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1
dc.title.alternativeThe fctors ffecting to wrd students chievement under the office of Ryong primry eductionl service re 1
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were 1) to study the factors affecting student achievement, 2) to study the relationship between individual factors and student achievement, 3) to create a predictive equation for student achievement. Sample in this study was 317 teachers in school under the Office of Rayong Primary Education Area 1. The data collection instrument employed in this study was a set of five-point-rating scale questionnaire. The item discriminative power of this questionnaire was between .49 and .95 and the reliability value was .93. Data was analyzed by ( ), Standard Deviation (SD), Pearson Product-Moment Correlation Coefficient, and Stepwise multiple regression analysis. The regression equations predicting the dependent variables were created by stepwise multiple regression analysis method. The results of the study were as follows: 1. The factors affecting students achievement was found at a high level, 2. Each factor correlated with student achievement at 0.01 level, 3. The predictors of student achievement are four factors: management factor (X1), student factor (X2), teacher factor (X3) and parental factors (X4). The multiple correlation coefficient was found at 69.40% with statistically significant at the level of .05. The regression coefficient predictive competence was found at 48.10. These could form the regression equations of the raw score and the standardized score as follows: Y = (-6.389) + 4.538(X1) + 2.888(X3) + 3.367(X2) + 2.262(X4) Z = 0.329(X1) + 0.166(X3) + 0.224(X2) + 0.195(X4)
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.92 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น