กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7376
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสุเมธ งามกนก
dc.contributor.advisorประยูร อิ่มสวาสดิ์
dc.contributor.authorศศิกานต์ พันธ์โนราช
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:55:13Z
dc.date.available2023-05-12T03:55:13Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7376
dc.descriptionงานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานการนิเทศภายในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายปิ่นมาลา จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูในกลุ่มเครือข่ายปิ่นมาลา จังหวัดสระแก้ว กำหนดกลุ่มตัวอย่างจากตารางเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 607-608) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 181 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ จำนวน 31 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .27-.93 และความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) คะแนนเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method) ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพการดำเนินงานการนิเทศภายในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายปิ่นมาลา จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา โดยเรียงลำดับตามคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ การวางแผนการนิเทศภายในโรงเรียน การปฏิบัติ การนิเทศภายในโรงเรียน การสรุปผลการนิเทศภายในโรงเรียน การติดตามและประเมินผลการนิเทศภายในโรงเรียน และการศึกษาความต้องการจำเป็นในการนิเทศภายในโรงเรียน 2. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานการนิเทศภายในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายปิ่นมาลา จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานการนิเทศภายในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายปิ่นมาลา จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมและรายด้าน พบว่า ด้านการศึกษาความต้องการจำเป็นในการนิเทศภายในโรงเรียน ด้านการปฏิบัติ การนิเทศภายในโรงเรียน และด้านการติดตามและประเมินผลการนิเทศภายในโรงเรียน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนรายคู่อื่นแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectโรงเรียนมัธยมศึกษา -- ไทย -- สระแก้ว
dc.subjectการสอน -- การนิเทศ
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subjectการนิเทศการศึกษา
dc.titleสภาพการดำเนินงานการนิเทศภายในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายปิ่นมาลา จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7
dc.title.alternativeThe performnce of internl supervision in group of Pinml school; Skeo province under The Secondry Eductionl Service Are Office 7
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research was to study and compare the performance of internal supervision of schools in a group of Pinmala School, Sakeao Province under the Secondary Educational Service Area Office 7. The number of samples were identified through the use of Krejcie and Morgan Table (Krejcie & Morgan 1970, pp. 607-608). The sample consisted of 181 administrators and teachers. Stratified random sampling was applied to identify the samples. The research instrument was a 5-rating scale questionnaire comprising 31 items. Discriminating power was verified with the discriminating index and they were between .27-.93. The reliability of this questionnaire was .96. The data was verified by and of percentage, Mean, Standard Deviation (SD), One-way ANOVA, and Scheffe’s method. Research findings were as follows: 1. The performance of internal supervision of schools in a group of Pinmala school; Sakeao Province under the Secondary Educational Service Area Office 7 was at a high level in both overall and each aspect. The order of internal supervision which were rated from highest to lowest were as follow: the plan of internal supervision, the practice of internal supervision, the conclusion of internal supervision, the evaluation of internal supervision and the study of necessary requirements of internal supervision. 2. The comparison of the performance of internal supervision of schools in a group of Pinmala school, Sakaeo Province under the Secondary Educational Service Area Office 7 based on teachers’ experiences in both overall and each aspect was not statistically significant difference. 3. The comparison the performance of internal supervision of schools in a group of Pinmala school, Sakaeo Province under the Secondary Education Service Area Office 7 based on the size of schools, teachers were working both overview and each aspect was found statistically significant difference among study of necessary requirement of internal supervision, the practice of internal supervision and the evaluation of internal supervision at .05 level. The others were not statistically significant difference.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf988.94 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น