กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7341
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผาสุกของครอบครัวที่มีสมาชิกเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors influencing fmily well-being mong fmilies experiencing stroke ptients
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณี เดียวอิศเรศ
จินตนา วัชรสินธุ์
กาญจนา กิ่งมะลิ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ความผาสุกของครอบครัว มีความสําคัญยิงสําหรับครอบครัวที่มีสมาชิกเจ็บป่วยเรื้อรัง และโรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรคเรื้อรังที่ต้องการการดูแลจากครอบครัว การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผาสุกของครอบครัวที่มีสมาชิกเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง เป็นผู้ดูแลในครอบครัวที่มีสมาชิกเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง จํานวน 135 ราย ซึ่งเป็นผู้ที่พาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมารับการตรวจติดตามการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559-เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลในครอบครัว แบบสอบถามสัมพันธภาพในครอบครัว แบบสอบถามการสนับสนุน ทางสังคม แบบสอบถามการเผชิญปัญหาของครอบครัว และแบบสอบถามความผาสุกของครอบครัว มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ . 86, .75, .74, .85 และ .74 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ พรรณนา สัมประสิทธิ 4 สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการดูแลของผู้ดูแล และการเผชิญปัญหาของครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกบความผาสุกของครอบครัวที่มีสมาชิกเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (r = . 247, p < .001 และ r = . 384, p < .001 ตามลําดับ) ส่วนสัมพันธภาพในครอบครัว และการสนับสนุนทางสังคม ไม่มีความสัมพันธ์กบความผาสุกของครอบครัวที่มีสมาชิกเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง ความสามารถในการดูแลของผู้ดูแล และการเผชิญปัญหาของครอบครัวสามารถร่วมกันทํานายความผาสุกของครอบครัวที่มีสมาชิกเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองได้ร้อยละ 21 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (Adjusted R 2 = .218, F = 19.664, p < .001) ผลการศึกษานี้ให้ข้อเสนอแนะว่า พยาบาลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพครอบครัวควรนําผลที่ได้นี้ไปใช้พัฒนากิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการดูแลและการเผชิญปัญหาของผู้ดูแลในครอบครัวที่มีสมาชิกเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ ซึ่งจะส่งผลให้ครอบครัวมีความผาสุกเพิ่มมากขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7341
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น