กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7341
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorวรรณี เดียวอิศเรศ
dc.contributor.advisorจินตนา วัชรสินธุ์
dc.contributor.authorกาญจนา กิ่งมะลิ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:45:56Z
dc.date.available2023-05-12T03:45:56Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7341
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractความผาสุกของครอบครัว มีความสําคัญยิงสําหรับครอบครัวที่มีสมาชิกเจ็บป่วยเรื้อรัง และโรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรคเรื้อรังที่ต้องการการดูแลจากครอบครัว การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผาสุกของครอบครัวที่มีสมาชิกเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง เป็นผู้ดูแลในครอบครัวที่มีสมาชิกเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง จํานวน 135 ราย ซึ่งเป็นผู้ที่พาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมารับการตรวจติดตามการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559-เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลในครอบครัว แบบสอบถามสัมพันธภาพในครอบครัว แบบสอบถามการสนับสนุน ทางสังคม แบบสอบถามการเผชิญปัญหาของครอบครัว และแบบสอบถามความผาสุกของครอบครัว มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ . 86, .75, .74, .85 และ .74 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ พรรณนา สัมประสิทธิ 4 สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการดูแลของผู้ดูแล และการเผชิญปัญหาของครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกบความผาสุกของครอบครัวที่มีสมาชิกเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (r = . 247, p < .001 และ r = . 384, p < .001 ตามลําดับ) ส่วนสัมพันธภาพในครอบครัว และการสนับสนุนทางสังคม ไม่มีความสัมพันธ์กบความผาสุกของครอบครัวที่มีสมาชิกเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง ความสามารถในการดูแลของผู้ดูแล และการเผชิญปัญหาของครอบครัวสามารถร่วมกันทํานายความผาสุกของครอบครัวที่มีสมาชิกเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองได้ร้อยละ 21 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (Adjusted R 2 = .218, F = 19.664, p < .001) ผลการศึกษานี้ให้ข้อเสนอแนะว่า พยาบาลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพครอบครัวควรนําผลที่ได้นี้ไปใช้พัฒนากิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการดูแลและการเผชิญปัญหาของผู้ดูแลในครอบครัวที่มีสมาชิกเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ ซึ่งจะส่งผลให้ครอบครัวมีความผาสุกเพิ่มมากขึ้น
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผาสุกของครอบครัวที่มีสมาชิกเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง
dc.title.alternativeFctors influencing fmily well-being mong fmilies experiencing stroke ptients
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeFamily well-being is of great importance for a family with chronic illness, and stroke is a chronic illness that needs care from the family. The study aimed to examine factors influencing family well-being among a family member experiencing stroke. A purposive sampling was used to recruit a sample of 135 primary family caregivers for stroke patients, who brought the patient to receive follow-up treatment at an outpatient department, Nangrong hospital, Buri Ram province. Data were carried out from December, 2016 to May, 2017. Research instruments included a demographic questionnaire, the ability of family care giver questionnaire, the family relationship questionnaire, the social support questionnaire, the family coping questionnaire, and the family well-being questionnaire. Their reliability were .86, .75, .74, .85, and .74 respectively. Descriptive statistics, Pearson’s correlation coefficients and standard multiple regression analysis were used to analyze the data. The results showed that ability of family caregivers in family with stroke patients and family coping had significant correlation with family well-being among a family member experiencing stroke (r = .247, p < .001 and r = .384, p < .001 respectively), However, family relationship and social support had not significantly correlated with family well-being among a family member experiencing stroke. Ability of family caregivers in family with stroke patients and family coping together significantly accounted for 21% in variance prediction of family well-being among families experiencing stroke patients (Adjusted R 2 = .218, F = 19.664, p < .001). The findings suggest that nurses who are responsible for family health should utilize these results to develop activities to promote ability of care and coping of family caregivers among families with stroke or other chronic illness. Consequently, family well-being would increase.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น