กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7336
ชื่อเรื่อง: การศึกษาผลกระทบด้านการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะที่มีต่อโครงข่ายไฟฟ้าของประเทศไทยซึ่งรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study on greenhouse gs impcts of smrt grid implementtion to Thi grid system supplied from renewble energy electricity
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาวิณี ศักดิ์สุนทรศิริ
พลากร จุกสีดา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ -- ไทย
ก๊าซเรือนกระจก
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรม -- กลุ่มวิชาเทคโนโลยีการจัดการพัลงงาน
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
การจ่ายพลังงานไฟฟ้า -- การอัตโนมัติ
พลังงานทดแทน -- แง่สิ่งแวดล้อม
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: จากปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไฟฟ้าตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2558-2579 โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นสาเหตุหลักของการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงมีการสนับสนุนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเข้าสู่โครงข่ายไฟฟ้า แต่ในปัจจุบันพบว่ามีผลกระทบต่าง ๆ เกิดขึ้นทางด้านคุณภาพไฟฟ้า การสูญเสียพลังงานไฟฟ้า รวมถึงต้นทุนสนับสนุนของภาครัฐที่สูงขึ้น โดยมีแนวโน้มการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นเป็น 20% ของเชื้อเพลิงทั้งหมดที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้จัดทําแผนแม่บทในการลงทุนของโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะที่มีการลงทุนมูลค่าสูง เพื่อมารองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ซึ่งโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะจะสามารถลดการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยได้ ส่งผลให้สามารถลดทรัพยากรที่ป้อนเข้าโครงข่ายไฟฟ้า ทําให้สามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ อย่างไรก็ตามการลงทุนระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะจําเป็นต้องมีการลงทุนเพิ่ม ส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการต้นน้ำของทรัพยากรในการลงทุนเพิ่ม การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินเปรียบเทียบปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากวัฏจักรชีวิตของไฟฟ้าที่ผลิตตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้ าของประเทศไทยกับปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากวัฎจักรชีวิตที่ลดลง ภายหลังจากมีการเชื่อมโยงกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ วิธีการศึกษาดําเนินการโดยคํานวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์และศึกษาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องของประเทศไทยและต่างประเทศ จากการศึกษาพบว่าปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยรวมทั้งทางตรงและทางอ้อมในปี พ.ศ. 2579 มีค่าเท่ากับ 0.6962 kgCO2eq/ kWh เมื่อมีการเชื่อมโยงกับโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะครบถ้วน 100% จะทําให้ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงเหลือ 0.6739 kgCO2eq/ kWh คิดเป็นสัดส่วนการลดลง 3.21%
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7336
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.96 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น