กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7336
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorภาวิณี ศักดิ์สุนทรศิริ
dc.contributor.authorพลากร จุกสีดา
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:45:53Z
dc.date.available2023-05-12T03:45:53Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7336
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractจากปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไฟฟ้าตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2558-2579 โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นสาเหตุหลักของการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงมีการสนับสนุนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเข้าสู่โครงข่ายไฟฟ้า แต่ในปัจจุบันพบว่ามีผลกระทบต่าง ๆ เกิดขึ้นทางด้านคุณภาพไฟฟ้า การสูญเสียพลังงานไฟฟ้า รวมถึงต้นทุนสนับสนุนของภาครัฐที่สูงขึ้น โดยมีแนวโน้มการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นเป็น 20% ของเชื้อเพลิงทั้งหมดที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้จัดทําแผนแม่บทในการลงทุนของโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะที่มีการลงทุนมูลค่าสูง เพื่อมารองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ซึ่งโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะจะสามารถลดการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยได้ ส่งผลให้สามารถลดทรัพยากรที่ป้อนเข้าโครงข่ายไฟฟ้า ทําให้สามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ อย่างไรก็ตามการลงทุนระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะจําเป็นต้องมีการลงทุนเพิ่ม ส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการต้นน้ำของทรัพยากรในการลงทุนเพิ่ม การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินเปรียบเทียบปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากวัฏจักรชีวิตของไฟฟ้าที่ผลิตตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้ าของประเทศไทยกับปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากวัฎจักรชีวิตที่ลดลง ภายหลังจากมีการเชื่อมโยงกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ วิธีการศึกษาดําเนินการโดยคํานวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์และศึกษาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องของประเทศไทยและต่างประเทศ จากการศึกษาพบว่าปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยรวมทั้งทางตรงและทางอ้อมในปี พ.ศ. 2579 มีค่าเท่ากับ 0.6962 kgCO2eq/ kWh เมื่อมีการเชื่อมโยงกับโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะครบถ้วน 100% จะทําให้ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงเหลือ 0.6739 kgCO2eq/ kWh คิดเป็นสัดส่วนการลดลง 3.21%
dc.language.isoth
dc.publisherคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ -- ไทย
dc.subjectก๊าซเรือนกระจก
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรม -- กลุ่มวิชาเทคโนโลยีการจัดการพัลงงาน
dc.subjectเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
dc.subjectการจ่ายพลังงานไฟฟ้า -- การอัตโนมัติ
dc.subjectพลังงานทดแทน -- แง่สิ่งแวดล้อม
dc.subjectอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
dc.titleการศึกษาผลกระทบด้านการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะที่มีต่อโครงข่ายไฟฟ้าของประเทศไทยซึ่งรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน
dc.title.alternativeA study on greenhouse gs impcts of smrt grid implementtion to Thi grid system supplied from renewble energy electricity
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeSince releasing greenhouse gas of electricity under Power Development Plan of Thailand 2558-2579 B.E., especially those which are generated from fossils is the main cause of releasing greenhouse gas, purchasing the electricity from renewable energy to Smart Grid is supported. However, recently, we have discovered many impacts from doing so, for example; the quality and the loss of electric energy, also the cost of government support is higher. The tendency of increasing ratio of renewable power generation is 20% from all types of fuels that is used to generate electricity. Involving organizations have created the model scheme of this high-cost investment on Smart Grid to support electricity generation from renewable energy. And this Smart Grid will help reduce the loss of the energy in Thailand which will lead to less resource needed in the Grid and will cause less greenhouse gas release. In spite of that, Smart Grid investment needs to be more invested and that causes an increase of greenhouse gas in upstream management in more investment. This research aims to assess and compare the amount of greenhouse gas release from electricity life cycle follows the Power Development Plan of Thailand and greenhouse gas release from the shorten life cycle after being connected to the Smart Grid. After using carbon footprint calculation and study Thai and international relating works found that the amount of greenhouse gas, both direct and indirect, release in 2579 B.E. is 0.6962 kgCO2eq/ kWh and is 0.6739 kgCO2eq/ kWh after being completely connected to Smart Grid 100% which is 3.21% decreased.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineกลุ่มวิชาเทคโนโลยีการจัดการพัลงงาน
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.96 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น