กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7318
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาผลสัมฤทธิ์และการคิดวิเคราะห์ในวิชาชีววิทยาเรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิตชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นโดยเน้นระดับของการสืบเสาะ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of scientific chievement nd nlyticl thinking for cell biology of orgnisms for grde 10 students using 7e lerning cycle emphsizing on the level of inquiry
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์
ชนวัฒน์ ตันติวรานุรักษ์
ศศิวัฒน์ เดชะ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: ชีววิทยา -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาชีววิทยาศึกษา
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
สิ่งมีชีวิต
ชีววิทยา -- กิจกรรมการเรียนการสอน (มัธยมศึกษา)
ชีวิต (ชีววิทยา)
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดวิเคราะห์ในวิชาชีววิทยา เรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิต โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น โดยเน้นระดับของการสืบเสาะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนในแผนการเรียนเน้นวิทยาศาสตร์ จำนวน 2 ห้องเรียน โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้อง 45 คน และกลุ่มควบคุม 1 ห้อง 45 คน ของภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี โดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้การประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น โดยเน้นระดับของการสืบเสาะเรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิต จำนวน 4 แผน แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวติ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น โดยเน้นระดับของการสืบเสาะ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น โดยเน้น ระดับของการสืบเสาะ ยังมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนและการคิดวิเคราะห์สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เช่นเดียวกัน จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น โดยเน้นระดับของการสืบเสาะนั้น ช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์สูงขั้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพกับนักเรียนต่อไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7318
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.67 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น