กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7314
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorชัชวิน เพชรเลิศ
dc.contributor.advisorวิสาตรี คงเจริญสุนทร
dc.contributor.authorปิยะดา พันธุ์สระน้อย
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:45:39Z
dc.date.available2023-05-12T03:45:39Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7314
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธ์ต้านแบคทีเรียของส่วนสกัดจากโสน (Sesbania javanica Miq.) ซึ่งเป็นพืชในวงศ์ FABACEAE โดยทําการหาปริมาณสารประกอบฟีนอลและฟลาโวนอยด์รวม ตรวจวัดเชิงคุณภาพของสารโพลีฟีนอลชนิดต่าง ๆ โดย ใช้วิธีโครมาโตกราฟี แบบชั้นบาง (Thin layer chromatography, TLC) ทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH และ FRAP assay นอกจากนี้ยังศึกษาฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อแบคทีเรียฉวยโอกาส 4 สายพันธุ์ด้วยวิธี Agar diffusion susceptibility test ผลการวิจัยพบว่า ส่วนสกัดจากใบและดอกโสนประกอบด้วยปริมาณสารประกอบฟีนอลรวมเท่ากับ 35.93±0.0004 และ 34.81±0.0008 มิลลิกรัมสมมูลกรดแกลลิกต่อกรัมของส่วนสกัด ตามลําดับ และปริมาณฟลาโวนอยด์รวมเท่ากับ 24.11±0.002 และ 23.90±0.004 มิลลิกรัมสมมูลของเควอร์เซตินต่อกรัมของส่วนสกัดตามลําดับ ทั้ งยังอุดมไปด้วยสารโพลีฟีนอลในกลุ่มฟลาโวนอยด์ฟลาโวนที่มีหมู่ เมทิลไดไฮโดรฟลาโวนอยด์ฟลาโวนอล โอ-กลัยโคไซด์ และฟลาวาโนน โอ-กลัยโคไซด์ เมื่อทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay พบว่า ใบและดอกโสนมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระที่ดี (IC50 = 2.38 และ 2.07 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลําดับ) ผลจากการทดสอบด้วยวิธี FRAP พบว่า ส่วนสกัดใบและดอกโสนมีค่า FRAP value เท่ากับ 46.89±0.003 และ 45.90±0.003 มิลลิกรัมสมมูลของเฟอร์รัสซัลเฟตต่อกรัมของส่วนสกัด ตามลําดับ นอกจากนี้ยังพบว่า ส่วนสกัดจากใบและดอกโสนสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis ดีที่สุด รองลงมา ได้แก่ Escherichia coli ATCC 25922, Staphylococcus aureus ATCC 25923 และ Pseudomonas aeruginosa ATCC 27853 ตามลําดับ (ให้ค่า MIC เท่ากับ 20, 40, 40 และ 80 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลําดับ) จากการทดลองจะเห็นได้ว่าส่วนสกัดจากใบและดอกโสนมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และต้านเชื้อแบคทีเรียที่ดีแม้ว่าจะยังไม่ดีเท่ากับเตตราซัยคลินซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้กันในปัจจุบันก็ตาม ซึ่งมีแนวโน้มที่จะพัฒนาเป็นอาหารเพื่อสุขภาพต่อไปได้
dc.language.isoth
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectฟีนอล
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาชีววิทยาศึกษา
dc.titleปริมาณฟีนอลรวมฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์การยับยั้งเชื้อแบคทีเรียของส่วนสกัดจากโสน
dc.title.alternativeTotl phenolic, ntioxidnt, nd ntibcteril ctivities of sesbni jvnic miq. extrcts
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study was to investigate both antioxidant and antibacterial activities of Sesbania javanica Miq. that belongs to a family of FABACEAE. The total phenolic and flavonoid contents were determined and polyphenols were analyzed by thin layer chromatography (TLC). The antioxidant activity was assayed by 2, 2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) radical scavenging effect and the reducing power of iron (FRAP assay). Moreover, antibacterial activity against four opportunistic bacteria was also investigated by agar diffusion susceptibility test. The results revealed that the total phenolic contents of leaf and flower extracts were 35.93±0.0004 and 34.81±0.0008 mg GAE/g extract, respectively. The total flavonoid contents of leaf and flower extracts were 24.11±0.002 and 23.90±0.004 mg QE/g extract, respectively. S. javanica Miq. extract contained various flavonoids including methyl dihydroflavonoid, flavonol O-glycosides and flavonone O-glycosides. Leaf and flower extracts exhibited the DPPH radical scavenging activity with the IC50 by 2.38 and 2.07 mg/mL, respectively. For the FRAP assay, leaf and flower extracts showed the FRAP value of 46.89±0.003 and 45.90±0.003 mgFeSO4/g extract, respectively. S. javanica Miq. extracts displayed the best antibacterial activity against Bacillus subtilis, followed by Escherichia coli ATCC 25922, Staphylococcus aureus ATCC 25923 and Pseudomonas aeruginosa ATCC 27853, respectively (MICs = 20, 40, 40 and 80 mg/mL, respectively) although their activities were not as good as tetracyclin, an antibiotic drug used currently. However, they have an opportunity to develop as a functional food in the future
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineชีววิทยาศึกษา
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น