กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7258
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Public prticiption in locl development of sensuk municiplity, mung district, chonburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ไพฑูรย์ โพธิสว่าง
นิติรัตน์ ไชยอำนาจ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: เทศบาลเมืองแสนสุข -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการเมืองการปกครอง
การปกครองส่วนท้องถิ่น -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
การพัฒนาชุมชน -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลเมืองแสนสุข อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของประชาชนและเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของประชาชน ในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลเมืองแสนสุข จําแนกตามเพศ อายุ อาชีพ สถานภาพ การสมรส ระดับการศึกษาและรายได้กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยในเทศบาลเมืองแสนสุข จํานวน 396 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ อัตราส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลเมืองแสนสุข จําแนกตามเพศ ใช้สถิติการทดสอบค่าที (t – Test) ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลเมืองแสนสุข จําแนกตาม อายุ อาชีพ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ใช้วิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติได้ทําการวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาล เมืองแสนสุข โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.19) โดยเรียงลําดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ ( X = 3.61) ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ( X = 3.10) ด้านการดําเนินการ ( X = 3.07) และด้านการตัดสินใจ ( X = 2.98 ) และเมื่อเปรียบเทียบการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลเมืองแสนสุข จําแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ประชากรที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นแตกต่างกัน ที่นัยสําคัญทางสถิติ 0.05 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย ยกเว้นประชาการที่มีเพศ แตกต่าง ปัญหาอุปสรรค พบว่า ประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขาดการส่งเสริมการมีส่วนร่วม และขาดการประสานงานระหว่างเทศบาลกับประชาชนที่ไม่ต่อเนื่องจริงจัง
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (ร.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7258
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf818.57 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น