กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7233
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorดลดาว ปูรณานนท์
dc.contributor.advisorเพ็ญนภา กุลนภาดล
dc.contributor.authorวรารัตน์ ประทานวรปัญญา
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:39:02Z
dc.date.available2023-05-12T03:39:02Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7233
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มี 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับของพ่อแม่ ที่มีบุตรข้ามเพศกลุ่มตัวอย่าง คือ พ่อแม่ที่มีบุตรข้ามเพศที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาที่ 1-3 โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัดนนทบุรี ปีการศึกษา 2560 จำนวน 400 คน ได้มาจาก การสุ่มแบบแบบสองขั้นตอน (Two-stage sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับของพ่อแม่ที่มีบุตรข้ามเพศ ด้านการรับรู้ของพ่อแม่อิทธิพลทางสังคม ความคาดหวังของพ่อแม่ คุณลักษณะของพ่อแม่ สัมพันธภาพในครอบครัว มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.71, 0.79, 0.71, 0.78, 0.73 ตามลำดับ และแบบวัดการยอมรับของพ่อแม่ที่มีบุตรข้ามเพศมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.81 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐานและวิเคราะห์ปัจจัยด้วย Model MIMIC ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาผลของการบูรณาการปรึกษาครอบครัวโดยมีทฤษฎีเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างการยอมรับของพ่อแม่ที่มีบุตรข้ามเพศ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 22 ครอบครัว ที่ประกอบด้วย พ่อและแม่ได้จากการจัดเรียงคะแนนการยอมรับของกลุ่มตัวอย่างจากน้อย ไปหามากและคัดตามเกณฑ์ให้เกิดความเท่าเทียมกัน ได้กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 11 ครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดการยอมรับของพ่อแม่ที่มีบุตรข้ามเพศและโปรแกรมการบูรณาการปรึกษาครอบครัวโดยมีทฤษฎีเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างการยอมรับของพ่อแม่ที่มีบุตรข้ามเพศ โปรแกรมมีทั้งหมดจำนวน 12 ครั้ง ครั้งละ 90 นาที วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบความแปรปรวนแบบมีการวัดซ้ำ ผลการศึกษาวิจัยสรุปได้ดังนี้คือ 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับของพ่อแม่ที่มีบุตรข้ามเพศ มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับของ พ่อแม่ 4 ตัวแปร ประกอบด้วย คุณลักษณะพ่อแม่ การรับรู้ของพ่อแม่ อิทธิพลทางสังคม และความสัมพันธ์ ในครอบครัว มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ 0.44, 0.30, 0.22, 0.18 ตามลำดับ สำหรับปัจจัยความคาดหวัง ของพ่อแม่ต่อบุตร พบว่า ไม่ได้ส่งผลต่อการยอมรับของพ่อแม่ที่มีบุตรข้ามเพศ 2. ผลของการบูรณาการปรึกษาครอบครัวโดยมีทฤษฎีเป็นฐาน พบว่า การยอมรับของพ่อแม่ ที่มีบุตรข้ามเพศในระยะหลังทดลองมากกว่าระยะก่อนทดลอง และระยะติดตามผลมากกว่าระยะหลังทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่า กลุ่มทดลองมีการยอมรับของพ่อแม่ในระยะหลังทดลองและระยะติดตามผลมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectบุตร
dc.subjectวัยรุ่น -- การดูแล -- แง่จิตวิทยา
dc.subjectความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
dc.subjectความพอใจในเพศของบุตร
dc.subjectบิดามารดาและบุตร
dc.titleการเสริมสร้างการยอมรับของพ่อแม่ที่มีบุตรข้ามเพศด้วยการบูรณาการปรึกษาครอบครัวโดยมีทฤษฎีเป็นฐาน
dc.title.alternativeThe enhncement of prentl cceptnce to trnsgender children by ssimiltive integrte fmily counseling
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis research has two stages. Stage 1 was to study the factors affecting the acceptance of parents with transgender children. The samples were 400 parents with transgender children World Health Organization (WHO), 2015 were studying in high school academic year 2560 from the secondary school under the Ministry of Education in Nonthaburi province that derived from two- stage sampling. The instruments were a questionnaire to assess the factors affecting the acceptance of parents with transgender children composing of 5 elements: parental awareness, social influence, expectations of parents, parental features and family relationship. The reliability was 0.71, 0.79, 0.71, 0.78 and 0.73, respectively. The questionnaire of the acceptance of parents with transgender children with confidence at .81. The data was analyzed with basic statistics and Model MIMIC. Stage 2 was to study the effect of an assimilative family counseling on the acceptance of parent. The samples consisted of 22 families World Health Organization (WHO), 2015 were ranked from low to high acceptance scores and selected according to the criteria for equality. They were divided into control and experimental groups of 10 families. The instruments consisted of a test of an acceptance of parents with transgender and the assimilative family counseling program 12 sessions of 90 minutes each. Data were analyzed with the analysis of variance with repeated measures. The results were as follows: 1. The factors affecting the acceptance of parents with transgender children including parental features, parental awareness, social influence and family relationship. The coefficient of influence was 0.44, 0.30, 0.22 and 0.18 respectively. The parents' expectation was not found to affect the acceptance of parents with transgender children. 2. The effects of an assimilative family counseling for enhance the acceptance of parents with transgender children revealed that the acceptance of parents in post-test was higher than pre-test and the acceptance in follow up was higher than post-test statistically significant at the .05 level. When compared between groups, it revealed that the acceptance of parents in the experimental group was higher than the control group in post-test and follow up statistically significant at the .05 level.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineจิตวิทยาการปรึกษา
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.5 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น