กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7223
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจกับการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพนัสนิคมจังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study of reltionship between power function-ins nd tsk voction of Municipl Schools Phnt Nikhom, Chonburi
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์
ธร สุนทรายุทธ
ดิลก คำคูเมือง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: โรงเรียนเทศบาล -- การบริหาร
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
ผู้บริหารโรงเรียน
ความสามารถทางการบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจกับการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จำนวน 86 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพ และแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งออกเป็น แบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษามีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง 0.27-0.84 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.92 และแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษา มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.34-0.77 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1. การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้จำนวนครูร้อยละ 91.9 และจำนวนบุคลากรร้อยละ 8.1 2. การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา และการบริหารงานสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3. ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา และการบริหารงานสถานศึกษา ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี โดยรวม พบว่า มีความสัมพันธ์กันทางบวก ระดับปานกลางถึงระดับค่อนข้างสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านอำนาจเชี่ยวชาญ (X4) อำนาจตามกฎหมาย (X3) และด้านอำนาจให้รางวัล (X1) สามารถร่วมกันทำนายการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมือง พนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ได้ร้อยละ 63.40 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเขียนเป็นสมการพยากรณ์ การบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในรูปคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ Ŷ = .82 + .33 (X4) + .28 (X3) + .20 (X1) ẑ = .38 (Z4) + .32 (Z3) + .25 (Z1)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7223
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.25 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น