กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7143
ชื่อเรื่อง: การศึกษาพหุระดับภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study on multi-level of ledership ffecting the effectiveness of secondry schools under the office of bsic eduction commission
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมุทร ชำนาญ
พงศ์เทพ จิระโร
รณภพ ตรึกหากิจ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: โรงเรียนมัธยมศึกษา -- การบริหาร
ภาวะผู้นำทางการศึกษา
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาบริหารการศึกษา
ผู้บริหารโรงเรียน (มัธยมศึกษา)
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเพื่อศึกษาปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการระดับครู และระดับโรงเรียน ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 84 คน และครู ในโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1,050 คน รวมทั้งสิ้น 1,134 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS ในการหาค่าสถิติพื้นฐาน และโปรแกรม HLM ในการวิเคราะห์ปัจจัยพหุระดับ ผลการวิจัย พบว่า 1. ประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยระดับครู ด้านการมีส่วนร่วมกำหนดเป้าหมายของโรงเรียน การนิเทศการสอน การพัฒนาหลักสูตร การกำกับติดตามความก้าวหน้าของนักเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดให้มีสิ่งจูงใจให้กับนักเรียน การพัฒนาตนเอง และการจัดสิ่งส่งเสริมสภาพการเรียนรู้ ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ปัจจัยระดับโรงเรียน ด้านการตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียน การจัดให้มี สิ่งส่งเสริมสภาพการเรียนรู้ และการส่งเสริมให้มีการพัฒนาวิชาชีพ ส่งผลต่อค่าเฉลี่ยประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และตัวแปรการประสานงานด้านการใช้หลักสูตร ส่งผลต่อสัมประสิทธิ์การถดถอยการมีส่วนร่วมกำหนดเป้าหมายของโรงเรียนต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรการตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียน และตัวแปรการจัดให้มีสิ่งส่งเสริมสภาพการเรียนรู้ ส่งผลต่อสัมประสิทธิ์การถดถอยการนิเทศการสอนต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรการควบคุมการใช้เวลาในการสอน ตัวแปรการดูแลเอาใจใส่ครูและนักเรียน และตัวแปรการจัดให้มีสิ่งจูงใจให้กับครู ส่งผลต่อสัมประสิทธิ์การถดถอยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7143
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.66 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น